Page 26 - kpi19842
P. 26

“กระบวนการเป็นผู้น าแบบทางการและการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขา กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์
                       ชาวไทยภูเขา อ าเภอคลองลาน จังหวัดก าแพงเพชร”  โดย  โอกามา จ่าแกะ  ผศ.ณัฏฐวุฒิ  ทรัพย์อุปถัมภ์  ชลกานดาร์  นาคทิม





                             นับตั้งแต่กระบวนการโลกาภิวัตน์ที่ได้แพร่ขยายแนวคิดเศรษฐกิจทุนนิยมและแนวคิดด้าน
                  การเมืองการปกครองแบบเสรีนิยมประชาธิปไตยจากประเทศตะวันตกไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกนับจาก

                  สมัยการแสวงหาอาณานิคมของประเทศมหาอ านาจทางตะวันตกและเพิ่มทวีคูณในสมัยหลังสงครามโลก

                  ครั้งที่ 2 ที่น ากลไกตลาดแบบเสรีเข้าสู่ประเทศต่างๆ จนถึงยุคปัจจุบันที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
                  สารสนเทศ  ระบบการติดต่อสื่อสารมีความเจริญอย่างยิ่งเสมือนทั้งโลกเป็นหนึ่งเดียว กล่าวคือกระบวนการ

                  โลกาภิวัตน์เป็นกระบวนการที่ท าให้ชุมชนโลกเป็นแบบเดียวกัน  มีการเชื่อมโยงระบบและสิ่งต่างๆ เข้าเป็น
                  เครือข่ายเดียวกัน  โดยผ่านกระบวนการสังสรรค์ทางสังคมที่มีการก าหนดรูปแบบและการเชื่อมโยงในด้าน

                  เศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรม สิ่งเหล่านี้ได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว (ด ารงศักดิ์  แก้วเพ็ง,

                  2556) ลักษณะเช่นนี้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ในชุมชนทั้งวิธีคิด ความรู้ การจัดการและระบบ
                  ความสัมพันธ์ อีกทั้งส่งผลต่อระบบสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนและท าให้ความสัมพันธ์ของภาครัฐที่

                  ร่วมมือกับกลุ่มธุรกิจเอกชนมีอิทธิพลต่อการก าหนดแนวทางการพัฒนาประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจ
                  การเมืองและวัฒนธรรมอย่างหลีกเลี่ยงมิได้  (เสน่ห์  จามริก, 2556)  นอกจากนี้ความเจริญก้าวหน้าทาง

                  วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศท าให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้เปลี่ยนแปลงไปมากทั้งทางด้านเศรษฐกิจ

                  สังคม การเมือง การปกครองและสิ่งแวดล้อม ย่อมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชุมชนไม่ทางตรงก็ทางอ้อม
                  เช่นเดียวกัน


                             การศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ได้รับความ
                  สนใจเป็นอย่างมากและมากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน การที่จะด าเนินงานด้านการพัฒนาในยุคปัจจุบันที่ก าลัง

                  เปลี่ยนแปลงไปนั้น จ าเป็นที่จะต้องเข้าใจแนวคิดพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการ
                  เปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมอย่างถ่องแท้  เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจและหาแนวทางแก้ไขหรือวางแผน

                  ที่เหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในยุคโลกาภิวัตน์


                         2.1.5 ความหมายของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

                             วิรัช  วิรัชนิภาวรรณ (2532)  ได้ให้ความหมายของค าว่าการเปลี่ยนแปลง (Change) เอาไว้ว่า

                  เป็นภาวะหรือปรากฏการณ์ที่ไม่หยุดนิ่งและเกิดขึ้นตลอดเวลาทั้งกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ทั้งการ
                  เปลี่ยนแปลงโดยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการกระท าของมนุษย์เอง ทั้งการเปลี่ยนแปลงไปสู่

                  ทิศทางที่ดีขึ้นหรือเลวลงกว่าเดิม

                             ส่วนความหมายของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social Change) ได้มีนักสังคมวิทยาได้ให้

                  ความหมายไว้หลายท่าน ดังนี้

                             Hans and Mill (1953) (อ้างถึงในมหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช, 2538) ได้ให้ความหมาย

                  ไว้ว่า  การเปลี่ยนแปลงทางสังคม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวกับบทบาท สถาบันหรือระเบียบต่างๆ
                  ที่ประกอบขึ้นเป็นโครงสร้างสังคม







                                                            25
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31