Page 29 - kpi19842
P. 29
“กระบวนการเป็นผู้น าแบบทางการและการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขา กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์
ชาวไทยภูเขา อ าเภอคลองลาน จังหวัดก าแพงเพชร” โดย โอกามา จ่าแกะ ผศ.ณัฏฐวุฒิ ทรัพย์อุปถัมภ์ ชลกานดาร์ นาคทิม
จึงสรุปได้ว่า การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับการ
ด าเนินชีวิตของคนในสังคมในด้านวัฒนธรรมและการด าเนินชีวิต เป็นการเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่เป็นวัตถุ
และสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุ
อาจพิจารณาได้ว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมมองที่โครงสร้างและหน้าที่ของระบบสังคม
ที่ได้เปลี่ยนไป ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมมองที่วิถีชีวิต ระเบียบแบบแผนที่ได้เปลี่ยนไปจากเดิม
เราอาจจะกล่าวได้ว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมเป็นการศึกษาเรื่องของปรากฏการณ์ที่
เกิดขึ้นในชุมชนเรื่องเดียวกัน แต่มองได้สองแง่ เปรียบเสมือนกระดาษแผ่นเดียวมีอยู่สองหน้า ดังนั้นการ
เปลี่ยนแปลงทางสังคมมีผลต่อวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมก็มีผลต่อสังคมเช่นกัน
ส่วนการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็ยังคงมีผลต่อชุมชนด้วยเช่นกัน
2.1.7 ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
การเปลี่ยนแปลงในชุมชนและสังคมมีสาเหตุปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องถึงกันหลายประการ เมื่อมีการ
เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ณ จุดใดจุดหนึ่งของพื้นที่ทางชุมชนสังคมก็จะส่งผลกระทบไปยังส่วนอื่นๆ ด้วย
ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งถ้าจะพิจารณาถึงปัจจัยที่
ท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ได้มีนักวิชาการหลายท่านที่กล่าวถึงปัจจัยที่ก่อให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงขึ้นในชุมชนและสังคมของมนุษย์ จึงขอน าเสนอให้เห็นภาพรวมของปัจจัยที่ก่อให้เกิด
การเปลี่ยนแปลง ดังที่นักวิชาการผู้ทรงความรู้ได้กล่าวไว้ (โกวิทย์ พวงงาม, 2553; วรวุฒิ โรมรัตน์พันธ์,
2554; ด ารงศักดิ์ แก้วเพ็ง, 2556) ดังต่อไปนี้
1) ปัจจัยทางชีววิทยา (Biological) หมายถึง องค์ประกอบต่างๆ ซึ่งเป็นตัวก าหนดสมาชิก
ตัวประกอบ การเลือก คุณภาพทางด้านพันธุกรรมที่ถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ จึงมีความแตกต่างกันไปใน
ด้านคุณภาพและด้านศักยภาพของมนุษย์ในแต่ละสังคม ซึ่งมีผลต่อความสามารถของสังคมในการ
เปลี่ยนแปลงและการแสดงออกทางแนวคิดและคุณสมบัติอื่นๆ
2) ปัจจัยทางประชากร (Population) การเปลี่ยนแปลงจ านวนประชากรและองค์ประกอบ
ของประชากรนับว่ามีผลอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ชุมชนที่มีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างมากนั้น
จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนหรือแม้กระทั่งอัตราการเกิด
การตาย การย้ายถิ่นฐานและปริมาณของเพศ ก็ย่อมเป็นผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างยิ่ง
ทั้งสภาวการณ์ต่างๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหาในสังคมและการพัฒนาส่วนรวมด้วย
3) ปัจจัยทางกายภาพ (Physical) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพทางภูมิศาสตร์ ดารา
ศาสตร์และด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ มนุษย์มีความเชื่อว่าดวงดาวและดวงอาทิตย์มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิต
ทั้งทางดีและไม่ดี และสามารถก าหนดความเป็นไปแห่งชีวิตได้ ซึ่งตามหลักวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์
28