Page 33 - kpi19842
P. 33

“กระบวนการเป็นผู้น าแบบทางการและการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขา กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์
                    ชาวไทยภูเขา อ าเภอคลองลาน จังหวัดก าแพงเพชร”  โดย  โอกามา จ่าแกะ  ผศ.ณัฏฐวุฒิ  ทรัพย์อุปถัมภ์  ชลกานดาร์  นาคทิม





               สามารถในการควบคุมสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของมนุษย์ และมีการพัฒนาในทางการจัดระเบียบทาง
               สังคม เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่มีความเหลื่อมล้ าและความขัดแย้งในชุมชน จากศตวรรษ

               ที่ 19 เป็นต้นมา ความเจริญด้านเทคโนโลยีของมนุษย์เริ่มพัฒนาก้าวหน้า สามารถเพิ่มผลผลิตให้แก่ชุมชน

               มากขึ้น การจัดระเบียบทางสังคมได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงไปสู่อุตสาหกรรมและ
               ก าลังเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมหลังอุตสาหกรรมหรือสังคมสารสนเทศในปัจจุบัน  ดังนั้นชุมชนและสังคมจึงมี

               ความเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อนเป็นแบบเมืองมากขึ้น

                          ความหมายของการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นเมืองนั้น ปทานุกรมสังคมศาสตร์ได้ให้
               ความหมายไว้ ดังนี้

                              1) หมายถึง  การกระจายของอิทธิพลสังคมเมือง ได้แก่ ขนบธรรมเนียมและลักษณะ

               การณ์ของเมืองไปสู่สังคมชนบท
                              2) หมายถึง  ปรากฏการณ์ของลักษณะการณ์สังคมเมืองเกิดขึ้นหรือลักษณะของสังคม

               เมืองในแง่ประชากร เช่น การปฏิวัติทางด้านวัฒนธรรมในชนบทได้กลายเป็นวัฒนธรรมแบบสังคมเมือง

                              3) เป็นกระบวนการของประชากรที่มาอยู่รวมกันอย่างหนาแน่นหรือเป็นกระบวนการ
               ของการเคลื่อนไหวจากที่ไม่ใช่สังคมเมืองไปเพื่อความสมบูรณ์แหล่งลักษณะการณ์ของเมืองที่ประชาชน

               มารวมอยู่อย่างหนาแน่น
                              4) เป็นกระบวนการของการรวมตัวอย่างหนาแน่นของประชากร ซึ่งอัตราของประชากร

               ในเมืองต่อประชากรทั้งหมดได้เพิ่มขึ้น


                          สมศักดิ์  ศรีสันติสุข (2536)  กล่าวถึงค านิยามของนีล แอนเดอร์สันที่ได้ให้ค านิยามการ

               เปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นเมือง คือ การที่ประชาชนจากชนบทย้ายถิ่นไปในเมืองเพื่อตั้งถิ่นฐานเป็นหลัก
               แหล่ง ชาวชนบทเหล่านี้จะเปลี่ยนไปสู่การมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบเมืองหรือการเปลี่ยนงานจาก

               เกษตรกรรมไปสู่งานที่ไม่ใช่เกษตรกรรม ตลอดจนการเปลี่ยนด้านความคิดและพฤติกรรม แบบเมือง
               (Urbanism) ของประชาชนในชนบท ถึงแม้จะไม่ได้ย้ายถิ่นเข้าไปอยู่ในเมือง โดยมีลักษณะคติแบบเมือง

               ดังนี้

                              1) วิถีการท างาน  เป็นแบบอุตสาหกรรม การขนส่ง การค้าขาย การบริการ เป็นต้น
                              2) การเคลื่อนไหว  เป็นการเคลื่อนย้ายของคนสู่โรงงานอุตสาหกรรม การเปลี่ยนย้ายจาก

               งานหนึ่งไปสู่อีกงานหนึ่งที่ไม่เกี่ยวกับต าแหน่งที่ง่ายกว่าหรือสูงกว่า

                              3) การกระท าระหว่างกันทางสังคมอย่างไม่เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ที่ไม่รู้จักเพียงพอ

                              4) การท างานตรงเวลา เพราะชีวิตในเมืองจะมีลักษณะที่เกี่ยวข้องกับงานตลอดเวลา

                              5) การอยู่ภายในครอบครัวไม่ต้องพึ่งพาญาติพี่น้องหรือเพื่อนบ้าน เพราะมีเครื่องอ านวย

               ความสะดวกต่างๆ ครบครัน

                              6) มีการรู้จักดัดแปลงสิ่งธรรมชาติให้สวยงามขึ้น




                                                         32
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38