Page 35 - kpi19842
P. 35
“กระบวนการเป็นผู้น าแบบทางการและการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขา กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์
ชาวไทยภูเขา อ าเภอคลองลาน จังหวัดก าแพงเพชร” โดย โอกามา จ่าแกะ ผศ.ณัฏฐวุฒิ ทรัพย์อุปถัมภ์ ชลกานดาร์ นาคทิม
Smelser (1966) กล่าวว่า การเปลี่ยนไปสู่ความทันสมัย หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทาง
เทคนิคด้านเศรษฐศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงทางนิเวศวิทยา รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและ
วัฒนธรรม เช่น การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจากการปกครองชุมชนหมู่บ้าน มาเป็นระบบแบบข้าราชการ
การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา คือลดการอ่านเขียนหนังสือไม่ได้และเพิ่มความรู้ความช านาญมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงทางศาสนา จากความเชื่อทางโลกเข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าๆ การเปลี่ยนแปลงทาง
ครอบครัว ท าให้ความผูกพันทางเครือญาติพี่น้องลดลงและกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การเปลี่ยนแปลงไปสู่ความ
ทันสมัยมีความหมายควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจแต่จะมีขอบเขตที่กว้างกว่า
Moore (1968) กล่าวว่า การเปลี่ยนไปสู่ความทันสมัย คือการเปลี่ยนแปลงระบบประเพณี
มาเป็นแบบอย่างของประยุกต์วิทยาใหม่ๆ และจัดองค์การอย่างมีระเบียบกฎเกณฑ์ในสังคมซึ่งแสดงถึง
ลักษณะเศรษฐกิจที่เจริญก้าวหน้าหรือพัฒนาทางเศรษฐกิจจนมีความมั่นคงทางการเมืองเหมือนประเทศ
ตะวันตกและสรุปว่าการเปลี่ยนไปสู่ความทันสมัยเกิดจากการพัฒนาเศรษฐกิจ
อาจกล่าวได้ว่าลักษณะของการเปลี่ยนไปสู่ความทันสมัยในสังคมชนบทไทยนั้น มีลักษณะดังนี้
1) การจ้างแรงงาน เช่น จากการช่วยเหลือลงแรงกันในลักษณะการลงแขก ได้ปรับ
เปลี่ยนไปเป็นการใช้ตัวเงินเป็นสิ่งตอบแทน เช่น ค่าจ้าง ค่าตอบแทน
2) การประกอบอาชีพอื่นแทนการท านา เช่น พ่อค้า ช่าง ข้าราชการ นักการเมือง
3) การใช้ประยุกต์วิทยาศาสตร์ใหม่ๆ เช่น การใช้เครื่องจักร การใช้ปุ๋ยในการปรับ
สภาพดิน การพัฒนาปรับปรุงพันธุ์พืชต่างๆ การควบคุมโรคและแมลง
4) การเลื่อนฐานะทางสังคม เช่น การได้รับการศึกษาสูงขึ้น ต าแหน่งหน้าที่การงาน
สูงขึ้น ฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
5) การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ในครอบครัว เช่น บทบาทของพ่อแม่ลดลง ลูกไม่เชื่อฟัง
และไม่ช่วยเหลืองานบ้าน ขาดความรับผิดชอบในครอบครัว
6) การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ในด้านศาสนา เช่น บทบาทของผู้น าศาสนาลดลง
ความเชื่อในเรื่องบุญกรรม ความศรัทธา ความยึดมั่นและการปฏิบัติรวมถึงพิธีกรรมและพิธีการลดลง
7) เครื่องอ านวยความสะดวก การน าเอาความทันสมัยเข้ามาในชุมชน เช่น โทรทัศน์
ตู้เย็น รถจักรยานยนต์ คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ อาจกล่าวได้ว่าหากมีถนน ไฟฟ้า
เข้าถึงชุมชนเมื่อใดเครื่องอ านวยความสะดวกก็จะตามมาด้วย
8) โลกทัศน์ต่างๆ จิตใจของประชาชนจะมีอยู่สูง ซึ่งจะเปลี่ยนไปในอัตราที่เร็วกว่าแบบ
แผนชีวิตที่ปรากฏออกมาภายนอก (ด้านวัตถุ) โดยเฉพาะในด้านโลกทัศน์ที่เล็งเห็นคุณค่าของการศึกษา
การยอมรับ การแสวงหาสิ่งใหม่และการนิยมท างานอย่างจริงจัง
34