Page 34 - kpi19842
P. 34

“กระบวนการเป็นผู้น าแบบทางการและการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขา กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์
                       ชาวไทยภูเขา อ าเภอคลองลาน จังหวัดก าแพงเพชร”  โดย  โอกามา จ่าแกะ  ผศ.ณัฏฐวุฒิ  ทรัพย์อุปถัมภ์  ชลกานดาร์  นาคทิม





                             กระบวนการของการเปลี่ยนไปสู่ความเป็นเมืองในประเทศตะวันตกจะมีความสัมพันธ์กับการ
                  พัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศนั้น ส าหรับการเปลี่ยนไปสู่ความเป็นเมืองในประเทศที่ก าลังพัฒนานั้น

                  ปรากฏว่าการเติบโตของเมืองไม่ได้เป็นสัดส่วนกับอัตราของความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการเพิ่มขึ้น

                  ของประชากร ซึ่งเรียกกระบวนการของการเปลี่ยนไปสู่ความเป็นเมืองในประเทศที่ก าลังพัฒนาว่า
                  การเปลี่ยนไปสู่ความเป็นเมืองมากเกินไป เป็นลักษณะที่การย้ายถิ่นของชาวชนบทจ านวนมากเข้าไปใน

                  ชุมชนเมือง ท าให้ประชากรเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วและความยากจนเกิดขึ้นในเมือง หรือเรียกว่าการ
                  เปลี่ยนไปสู่ความเป็นเมืองที่ไม่แท้จริง เนื่องจากการเจริญเติบโตของเมืองไม่ได้สัดส่วนการพัฒนาเศรษฐกิจ

                  และประชากรที่เพิ่มขึ้น

                             อาจกล่าวได้ว่าการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นเมือง เป็นการกระจายอิทธิพลปรากฏการณ์

                  ของสังคมเมืองไปสู่ชนบท ทั้งที่เป็นการขยายอาณาบริเวณของเมืองออกไปให้ได้สัดส่วนกับประชากร

                  ที่อาศัยอยู่ในเมือง และการที่ประชากรในชนบทมารวมกันอย่างหนาแน่นและมีอัตราของประชากรเพิ่มขึ้น
                  แล้วท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านอาชีพ วิถีชีวิต ความคิดและพฤติกรรมแบบเมือง เช่น เปลี่ยนอาชีพ

                  และวิถีชีวิตแบบเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม  การพาณิชย์และการบริการ  ความสัมพันธ์ทางสังคม
                  การด ารงชีวิตแบบอย่างของการจัดระเบียบที่เป็นทางการ ความคิดที่เป็นแบบแผน จะเห็นได้ว่า

                  กระบวนการของการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นเมืองของประเทศก าลังพัฒนาจะไม่มีความสัมพันธ์กับ

                  การพัฒนาอุตสาหกรรม จึงท าให้การเจริญเติบโตของเมืองไม่ได้สัดส่วนกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
                  และการเพิ่มขึ้นของประชากรหรือเป็นการเปลี่ยนไปสู่ความเป็นเมืองมากเกินไป (Over Urbanization)

                  สิ่งเหล่านี้ย่อมส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ขึ้นมากมายในเมือง อาทิ เช่น การปรับตัว อาชญากรรม ที่อยู่อาศัย
                  ดังนั้นในการพัฒนาจะต้องไม่มุ่งเน้นความเจริญเติบโตของเมืองเพียงด้านเดียว ในทางกลับกันก็จ าเป็น

                  ต้องให้ความส าคัญกับชุมชนชนบทที่จะก้าวเข้าไปสู่ความเป็นเมืองและปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นหรืออาจจะ

                  เกิดขึ้นในชุมชนหรือสังคมเมืองด้วยเช่นกัน


                             กระบวนการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความทันสมัย (Modernization)

                             ภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง แนวคิดในการฟื้นฟูและพัฒนาประเทศต่างๆ ทั่วโลก

                  ต่างพากันมุ่งไปสู่ความทันสมัย ซึ่งประเทศต่างๆ ที่ประสบกับปัญหาภัยสงครามและประเทศที่ได้รับเอกราช
                  ต่างพากันพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตนเองเป็นอย่างมาก ประกอบกับการที่องค์การสหประชาชาติได้

                  ก าหนดให้เป็นทศวรรษแห่งการพัฒนาของโลก จึงส่งผลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ มากมาย
                  ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการคิดประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่ๆ ด้วยการขอยืมหรือการยอมรับเอาเทคนิค

                  แนวความคิดหรือวัตถุอื่นๆ ของสังคมอื่นๆ เข้ามาปรับใช้ให้เหมาะสมเข้ากับชุมชนของตน ความเจริญของ

                  ระบบการสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และ
                  ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี ตลอดจนการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

                  ตามมาดังกล่าว





                                                            33
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39