Page 77 - kpi18358
P. 77

2. หน่วยสนับสนุนการตรวจราชการ ระบบการตรวจราชการยังขาดหน่วยสนับสนุน กล่าวคือ

               ต าแหน่งผู้ตรวจราชการทั้งผู้ตรวจราชการกระทรวงและผู้ตรวจราชการกรมจะไม่มีหน่วยงานรองรับการ

               ท างาน ไม่มีบุคลากรและอุปกรณ์สนับสนุนการปฏิบัติงาน การก าหนดต าแหน่งผู้ตรวจราชการโดยไม่มี

               หน่วยงานรองรับย่อมเป็นการยืนยันได้ว่า ระบบการตรวจราชการไม่ได้มีไว้เพื่อประโยชน์ของชาติหรือ


               ประชาชน แต่เพื่อประโยชน์ของผู้มีอ านาจในการแต่งตั้งเท่านั้น


                       3. กระบวนการตรวจราชการ การตรวจราชการจะต้องท าภายใต้กระบวนการตรวจที่ชัดเจน ได้แก่

               การตรวจในระดับการบรรลุเป้ าหมายของงานหรือความส าเร็จของงาน การตรวจความรับผิดชอบและ

               ความอุตสาหวิริยะของผู้ปฏิบัติงาน ตลอดจนประมวลปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นกับหน่วยงานและ

               การตรวจราชการ ดังนั้น ในการด าเนินงาน ผู้ตรวจราชการต้องมีความรู้ ความเข้าใจในนโยบายของรัฐบาล

               การจัดท าแผนการตรวจและโครงการปฏิบัติงานและการประเมินผลของโครงการที่จะไปตรวจ ทั้งนี้ เพื่อให้

               การตรวจราชการเกิดประโยชน์ตามเป้ าหมายที่แท้จริง



                       4. การตรวจราชการกรณีพิเศษ ในระเบียบว่าด้วยการตรวจราชการจะให้อ านาจทั้งการตรวจราชการ

               กรณีปกติ เพื่อประเมินความส าเร็จของงานและการตรวจราชการกรณีพิเศษเพื่อพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ของ

               ประชาชน หรือสาธารณะภัยต่าง ๆ แต่ในทางปฏิบัติผู้บังคับบัญชามักมอบหมายภารกิจให้ผู้ตรวจราชการ

               มากจนเกินไปจนไม่สามารถปฏิบัติภารกิจประจ าได้ โดยเฉพาะการสอบสวนข้อเท็จจริงจากข้อร้องเรียนของ

               ประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากการกระท าของเจ้าหน้าที่รัฐ


                       5. อ านาจในการให้คุณและโทษของผู้ตรวจราชการ เป้ าหมายที่แท้จริงของการตรวจราชการ คือ


               การตรวจระดับความส าเร็จหรือระดับการบรรลุเป้ าหมายของหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนั้น

               คุณค่าของการตรวจราชการจะต้องครอบคลุมถึงอ านาจของการให้คุณและโทษแก่ผู้รับการตรวจด้วย

               กล่าวคือ การตรวจราชการจะต้องส่งผลถึงการพิจารณาความดีความชอบของผู้รับการตรวจด้วย ผลการตรวจ

               ราชการของผู้ตรวจราชการจะต้องส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติได้รับความดีความชอบโดยตรง แต่ในทางตรงกันข้าม

               หากผู้ปฏิบัติงานท างานไม่ได้ผลหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนหรือรัฐ การตรวจราชการของ

               ผู้ตรวจราชการควรจะส่งผลต่อการพิจารณาความดีความชอบหรือการลงโทษผู้ปฏิบัติ แต่ในความเป็นจริง

               พบว่า ผลการตรวจราชการไม่สามารถให้คุณโทษแก่ผู้รับตรวจราชการ ท าให้ผู้รับตรวจราชการไม่เห็น

               ความส าคัญของผู้ตรวจราชการ ยิ่งถ้าค าทักท้วงแนะน าขัดแย้งกับความเห็นของผู้บังคับบัญชาตามสายงาน

               โดยตรง ผู้รับการตรวจจะไม่ปฏิบัติตามค าแนะน าของผู้ตรวจราชการ แต่จะยึดค าสั่งหรือค าแนะน าของ


               ผู้บังคับบัญชาสายตรงเป็นหลัก

                                                            34
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82