Page 80 - kpi18358
P. 80
ใหญ่จะใช้การแต่งตั้งหรือยืมตัวบุคคลที่เคยปฏิบัติงานใกล้ชิดกับผู้ตรวจราชการ ท าให้เจ้าหน้าที่สนับสนุน
การตรวจราชการส่วนใหญ่ยังไม่สามารถรองรับงานตรวจราชการในเชิงเทคนิคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จากการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการตรวจราชการ คณะผู้วิจัยได้เสนอแนวทางในการปรับปรุง
ระบบการตรวจราชการไว้ 5 ประเด็น ดังนี้
1. ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ โดยยุทธศาสตร์การตรวจราชการแนวใหม่ควรให้ความส าคัญกับการ
ตรวจราชการในเชิงบวก เพื่อสนับสนุนหัวหน้าหน่วยงานหรือผู้บริหารในการปรับปรุงและยกระดับผลการ
ด าเนินงานให้สูงขึ้น สามารถเพิ่มมูลค่าของการด าเนินงาน เกิดความคุ้มค่าเงินและช่วยเสริมสร้างขีด
สมรรถนะขององค์กรในระยะยาวมากกว่ายึดติดกับยุทธศาสตร์การตรวจราชการแบบประเพณีนิยม
ในเชิงลบ เพื่อจ้องจับผิดและมุ่งเน้นการควบคุมในประเด็นรายละเอียดปลีกย่อยในการปฏิบัติงาน
ยุทธศาสตร์หรือแนวทางการด าเนินงานผู้วิจัยเสนอไว้ เช่น การตรวจราชการเชิงรุกและสร้างสรรค์
การตรวจราชการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ การตรวจราชการแบบร่วมเป็นพันธมิตร และการตรวจราชการแบบ
มีส่วนร่วม
2. ขยายขอบเขตของระบบการตรวจราชการให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดการบูรณาการระหว่าง
การตรวจราชการแบบประเพณีนิยม การตรวจสอบ การติดตามประเมินผล และการพัฒนานโยบายและ
ศักยภาพของแต่ละหน่วยงาน แต่ยังคงให้ยึดโครงสร้างของระบบการตรวจราชการในรูปแบบผสมผสาน
และให้คงระดับของการตรวจราชการไว้เช่นเดิม รวมทั้งให้มีการปรับแต่งกระบวนการด าเนินงานเกี่ยวกับ
การตรวจแนวใหม่
3. ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการตรวจราชการให้มีความเหมาะสมและ
เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เพื่อรองรับต่อยุทธศาสตร์การตรวจราชการแนวใหม่ควบคู่กับการแก้ไขปัญหา
ข้อจ ากัดของโครงสร้างหน่วยงานของรัฐ โดยการปรับปรุงโครงสร้างจะยึดหลักการบูรณาการภารกิจงานที่มี
ความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์เชื่อมโยงกับการตรวจราชการให้เข้ามาไว้รวมกันภายใต้โครงสร้างเดียวกัน
ออกแบบโครงสร้างให้มีลักษณะของการรายงานแบบสองทาง (Dual Reporting) เพื่อป้ องกันการแทรกแซง
กีดขวางและรักษาความเป็นอิสระในการด าเนินงาน และแบ่งแยกและรักษาการถ่วงดุลอ านาจระหว่างหน่วย
ตรวจราชการในแต่ละระดับให้มีความถูกต้องเหมาะสม
4. บทบาทและอ านาจหน้าที่ของผู้ตรวจราชการต้องมีการทบทวนและวางบทบาทให้เหมาะสม
และครอบคลุมทั้งแง่ของการเป็นผู้แทนและที่ปรึกษา เพื่อรองรับการตรวจราชการแนวใหม่ที่เน้นการ
บริหารงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์และการเสริมสร้างธรรมาภิบาล
37