Page 78 - kpi18358
P. 78
แนวทางการแก้ไขเพื่อให้ระบบตรวจราชการเป็นกลไกส าคัญในการเสริมสร้างสมรรถนะของการ
บริหารราชการแผ่นดินอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ สามารถท าได้โดยด าเนินการดังต่อไปนี้
1. ปรับปรุงวัฒนธรรมการบริหารของระบบราชการ จากการบริหารตามระเบียบเป็นสรณะ ไปเป็น
การบริหารเพื่อการบรรลุเป้ าหมายเป็นหลักส าคัญ การตรวจราชการจะต้องมุ่งเน้นการตรวจระดับการบรรลุ
เป้ าหมายมากกว่าการปฏิบัติโดยยึดระเบียบเป็นสรณะ
2. เสริมสร้างคุณค่าของสถาบันการตรวจราชการโดย
2.1 ก าหนดให้การด ารงต าแหน่งที่ส าคัญของระบบราชการต้องผ่านการด ารงต าแหน่ง
ผู้ตรวจราชการก่อน
2.2 ผู้ตรวจราชการทุกคนจะต้องผ่านหลักสูตรอบรมการตรวจราชการ เพื่อให้ผู้ตรวจราชการมี
ความรู้ความเข้าใจการตรวจราชการอย่างแท้จริง
2.3 การจัดตั้งหน่วยงานสนับสนุน เพื่อให้การตรวจราชการด าเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
การตรวจราชการจ าเป็ นต้องมีหน่วยงานที่มีความพร้อมทั้งบุคลากร และอุปกรณ์ในการรองรับ
การปฏิบัติงาน
2.4 ต้องก าหนดให้ผู้ตรวจราชการมีอ านาจในการพิจารณาความดีความชอบของผู้รับตรวจ
ราชการ เพื่อให้ผู้รับตรวจราชการเห็นคุณค่าของการตรวจราชการและเพื่อส่งเสริมการพิจารณาความดี
ความชอบอยู่บนพื้นฐานของผลงานอย่างแท้จริงตามระบบคุณธรรม
2.5 จะต้องไม่แต่งตั้งผู้ที่มีสุขภาพไม่ดีหรือผู้ที่มีปัญหาในการปฏิบัติราชการ หรือผู้ที่ถูก
สอบสวนเพราะถูกกล่าวหาว่ากระท าผิดมาด ารงต าแหน่งผู้ตรวจราชการ เพราะลักษณะเช่นนี้จะท าให้คุณค่า
ของผู้ตรวจราชการถูกท าลายลง
ทศพร ศิริสัมพันธ์ และคณะ (2546) ได้ศึกษาวิจัยระบบการตรวจราชการและผู้ตรวจราชการที่
จ าเป็นต้องปรับปรุงและพัฒนาสมรรถนะ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาระบบการตรวจราชการ
และการปรับปรุงพัฒนาขีดสมรรถนะของผู้ตรวจราชการ
ในการศึกษาวิจัยได้กล่าวถึงปัญหาของระบบตรวจราชการไว้ โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเด็นหลัก คือ
ปัญหาของระบบการตรวจราชการ โครงสร้างระบบตรวจราชการ กระบวนการตรวจราชการ และบุคลากร
การตรวจราชการ
35