Page 79 - kpi18358
P. 79
1. ด้านระบบการตรวจราชการ พบว่า ระบบการตรวจราชการมีลักษณะเป็นแบบประเพณีนิยมและ
เน้นการสร้างหลักประกันและความมั่นใจในเรื่องของภาระรับผิดชอบต่อการปฏิบัติงานให้ถูกต้องซึ่งเป็นผล
มาจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการ
ตรวจราชการ พ.ศ. 2532 และกฎหมายอื่น ๆ ที่วางกรอบอ านาจหน้าที่ของผู้ตรวจราชการไว้ ซึ่งส่งผลท าให้
ระบบการตรวจราชการมีขอบเขตภารกิจที่แคบและไม่ครอบคลุม ไม่มีการขยายขอบเขตและบูรณาการให้
ครอบคลุมถึงภารกิจที่มีความจ าเป็นและเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน หากเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ แล้ว
การตรวจราชการของประเทศไทยยังคงมีความล้าหลัง ซึ่งส่งผลให้การตรวจราชการไม่ได้รับการสนับสนุน
จากผู้บริหารทั้งฝ่ายการเมืองและฝ่ายผู้บริหารระดับสูง ไม่มีการน าผลจากการตรวจราชการไปใช้ประโยชน์
เพื่อปรับปรุงนโยบาย การพัฒนาองค์กร หรือการปรับปรุงผลการด าเนินงานขององค์กรให้ดีขึ้น
2. ด้านโครงสร้างของการตรวจราชการ โครงสร้างระบบตรวจราชการมีการผสมผสานไว้
อย่างค่อนข้างเหมาะสมแล้ว มีการควบคุมกันอย่างเป็นล าดับขั้นทั้งระดับส่วนกลาง ระดับกระทรวง และ
ระดับกรม แต่ในทางปฏิบัติพบว่ายังมีปัญหาในการเชื่อมโยงการตรวจราชการในระดับต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
และปัญหาการเชื่อมโยงระหว่างระบบการตรวจราชการ โดยเฉพาะการจัดการระบบข้อมูล การแลกเปลี่ยน
ความรู้และสารสนเทศ รวมทั้งปัญหาการเชื่อมโยงระบบการตรวจราชการให้เข้ากับกลไกการตรวจสอบ
ควบคุมอื่น ๆ และโครงสร้างองค์กรส่วนใหญ่ที่ยังเป็นหน่วยงานในระดับฝ่ายงานหรือหน่วยงานภายใน ซึ่ง
มีสมรรถนะที่ไม่สามารถรองรับกับภารกิจที่จะต้องด าเนินการได้อย่างครบถ้วน
3. ด้านกระบวนการตรวจราชการ แม้ว่าจะมีการวางแนวทางและระเบียบการตรวจราชการไว้อย่าง
เป็นระบบ แต่ก็ยังไม่ได้มีการทบทวนกระบวนการตรวจราชการให้มีความทันสมัย และยังขาดการจัดการ
ความรู้ในเรื่องของการตรวจราชการเพื่อน าไปใช้ในการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน
โดยเฉพาะในเรื่องการจัดท าคู่มือการตรวจราชการแบบเน้นผลสัมฤทธิ์ การติดตามผลการตรวจราชการ
การวางระบบประกันคุณภาพและมาตรฐาน การสร้างตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ของการตรวจราชการ รวมทั้ง
การตรวจราชการยังไม่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่เข้ามาช่วยตรวจราชการ ไม่มีการให้
ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ ไม่มีการเปิดเผยรายงานการตรวจราชการแก่สาธารณะ
4. ด้านบุคลากรการตรวจราชการ พบว่า การจัดอัตราผู้ตรวจราชการบางหน่วยงานไม่มีการก าหนด
อัตราต าแหน่งผู้ตรวจราชการของตนไว้เป็นการเฉพาะ กรณีหน่วยงานในระดับกรมบางหน่วยงานไม่ได้รับ
การอนุมัติอัตราต าแหน่งผู้ตรวจราชการ หรือต าแหน่งไม่เพียงพอกับปริมาณงาน นอกจากนี้ ในการแต่งตั้ง
บุคคลด ารงต าแหน่งไม่ได้มีการก าหนดคุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการที่มีความชัดเจนแน่นอน ท าให้ได้
บุคคลที่ไม่เหมาะสมมาด ารงต าแหน่ง เช่นเดียวกับการได้มาของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานสนับสนุน ซึ่งส่วน
36