Page 81 - kpi18358
P. 81

5. พัฒนาระบบสารสนเทศของการตรวจราชการโดยการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของ

               หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนราชการเดียวกันและระหว่างส่วนราชการต่างสังกัด จะท าให้ส่วนราชการ

               ต่าง ๆ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ควรมีการเปิดเผย

               ข้อมูลการประเมินต่าง ๆ ซึ่งอาจเผยแพร่ผ่านระบบฐานข้อมูลทางเว็บไซต์/อินเทอร์เน็ตเพื่อเพิ่มช่องทางการ


               เผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศสู่สาธารณชน


                         สมพร วรเศรษฐมงคล (2544) ได้ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการตรวจราชการ

               รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะการพัฒนาประสิทธิภาพการตรวจราชการให้สอดคล้องกับการบริหารแนวทางใหม่

               เพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ ผลจากการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการตรวจราชการ ได้แก่


                       1. โครงสร้างและอ านาจหน้าที่ของผู้ตรวจราชการส านักนายกรัฐมนตรี ไม่มีสายการบังคับบัญชาที่


               สามารถขึ้นโดยตรงกับผู้บริหารระดับสูง ส่งผลให้การรายงานผลการตรวจราชการจึงไม่สามารถน าเสนอ

               ผ่านไปถึงผู้บริหารระดับสูงได้

                     2. ผู้บริหารมักจะไม่ให้ความส าคัญในขั้นตอนการก าหนดแผนและติดตามผลการตรวจราชการ โดย

               ส่วนมากจะมอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาระดับรองไปท าหน้าที่แทน ท าให้แผนการตรวจราชการและการ

               พิจารณารายงานผลการตรวจติดตามแต่ละแผนงาน โครงการไม่สอดคล้องกับความต้องการและนโยบาย

               ของหน่วยงาน ประกอบกับการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการส านักนายกรัฐมนตรี กระทรวงและกรม

               ยังมีลักษณะต่างคนต่างตรวจ ไม่มีการประสานงานกันเพื่อประหยัดงบประมาณและเกิดความซ ้าซ้อนในการ

               ตรวจราชการ

                       3. การแต่งตั้งบุคคลที่เข้ามาด ารงต าแหน่งไม่เป็นไปตามเกณฑ์ วิธีการและขั้นตอนตามที่ส านักงาน


               ก.พ. ก าหนด บางครั้งมีการใช้ต าแหน่งผู้ตรวจราชการเป็นเครื่องมือในการแต่งตั้งบุคคลที่สนับสนุนตนเอง

               เพื่อให้เลื่อนต าแหน่ง ไม่มีการค านึงถึงความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้ง

                       4. ในระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการ พ.ศ. 2532  แม้จะมี

               การก าหนดมาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรมไว้แต่ในทางปฏิบัติยังไม่ได้น ามาตรฐานคุณธรรมและ

               จริยธรรมมาใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานหรือพิจารณาความดีความชอบ การแต่งตั้ง โยกย้าย การ

               ลงโทษในกรณีที่ละเมิดหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบ รวมทั้งยังไม่ได้มีการอบรมชี้แจงท าความเข้าใจเกี่ยวกับ

               ระเบียบให้มีความชัดเจนหรือให้มีการบังคับใช้เพื่อเป็นแบบแผนค่านิยมหรือวัฒนธรรมของผู้ตรวจราชการ

               ทุกระดับ






                                                            38
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86