Page 76 - kpi18358
P. 76

6.    การติดตามประเมินผล ตลอดระยะเวลาการด าเนินโครงการ ผู้รับผิดชอบแผนบริหาร

               ความเสี่ยงโครงการควรติดตามประเมินผลการด าเนินโครงการ ระบุปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเพิ่มเติม

               เพื่อสามารถก าหนดแผนรองรับความเสี่ยงโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิธีการจัดการความสี่ยงที่เลือก

               ไว้ หากพบปัญหาหรืออุปสรรคในการด าเนินการควรได้รับการแก้ไขหรือหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อวิเคราะห์


               หาทางเลือกที่ดีกว่า ดังนั้น การติดตามประเมินควรเป็นการติดตามประเมินผลทั้งตัวความเสี่ยงและวิธีการ

               บริหารความเสี่ยง การด าเนินการอย่างต่อเนื่องในขั้นตอนการติดตามประเมินผลนอกจากช่วยให้การด าเนิน

               โครงการเป็นไปอย่างราบรื่นและประสบผลส าเร็จสูงสุดแล้ว ข้อมูลและผลที่ได้ยังเป็นประโยชน์ต่อการ

               บริหารความเสี่ยงโครงการในอนาคตด้วย ดังนั้น ข้อมูลและผลลัพธ์ที่ได้ในแต่ละขั้นตอนควรมีการจัดเก็บ

               อย่างเป็นระบบ


               2.3 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการตรวจราชการ


                       ในส่วนนี้จะเป็นการส ารวจวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการตรวจราชการในประเทศไทย ซึ่งพบว่า

               การศึกษาเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคและแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงระบบการตรวจราชการในประเทศไทย


               มีอยู่ค่อนข้างน้อย และงานส่วนใหญ่ได้ด าเนินการมาเป็นเวลานานแล้ว ทั้งนี้ โดยประมวลวรรณกรรมต่าง ๆ

               ได้ดังนี้


                       สมบัติ ธ ารงธัญวงศ์ (2539) ได้เสนอบทความเกี่ยวกับแนวทางในการแก้ไขเพื่อสร้างมิติใหม่ของ

               การตรวจราชการเพื่อให้ระบบการตรวจราชการเป็นกลไกส าคัญในการเสริมสร้างสมรรถนะการบริหาร

               ราชการแผ่นดินอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในบทความผู้เขียนได้กล่าวถึงปัญหาของ

               ระบบการตรวจราชการไว้ ดังนี้



                       1. การแต่งตั้งผู้ตรวจราชการของไทยส่วนใหญ่จะพบเห็นได้ใน 3 ลักษณะ คือ ลักษณะแรก เป็นการ

               แต่งตั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่สุขภาพไม่ดี หย่อนสมรรถภาพไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามที่ผู้บังคับบัญชา

               ต้องการ ท าให้ต าแหน่งผู้ตรวจราชการเป็นเสมือนสุสานคนไร้สมรรถภาพ ลักษณะที่สอง การแต่งตั้งบุคคล

               ที่ไม่เป็นที่พึงประสงค์ของผู้บังคับบัญชา เช่น บุคคลที่ถูกสอบสวนเพราะมีปัญหาในการปฏิบัติราชการ

               ลักษณะที่สาม การแต่งตั้งบุคคลอันเป็นที่รักของผู้บังคับบัญชา โดยผู้บังคับบัญชามีจุดประสงค์ที่จะส่งเสริม

               ให้มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว แต่อาจจะอ่อนอาวุโสในการครองต าแหน่งระดับสูง จึงใช้ต าแหน่งผู้ตรวจ


               ราชการเป็นบันไดไต่เต้าทางลัด





                                                            33
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81