Page 75 - kpi18358
P. 75
ความเสี่ยงที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย เป็นความเสี่ยงที่ไม่จ าเป็นต้องได้รับการจัดการโดยเร่งด่วน หรือเป็น
ความเสี่ยงที่องค์กรสามารถรับมือได้ ซึ่งความเข้าใจผิดนี้จะเป็นอัตรายอย่างมากกับองค์กร เนื่องจากทฤษฎี
ความเสี่ยงจะให้ความส าคัญกับความรุนแรงของความสูญเสียมากกว่าความถี่ของความสูญเสีย อาจจะกล่าว
ว่า ความเสี่ยงที่มีความรุนแรงน้อยแต่เกิดขึ้นบ่อย เป็นความเสี่ยงที่องค์กรสามารถรับมือได้ เนื่องจากความถี่
ที่มากนั้นจะส่งเสริมให้การคาดเดาเหตุการณ์ทางสถิติเป็นไปได้อย่างแม่นย า ในขณะที่ความเสี่ยงที่มีความ
รุนแรงมากแต่เกิดขึ้นไม่บ่อย จะนับเป็นความเสี่ยงที่ควรได้รับความส าคัญ เพราะการคาดการณ์ไม่สามารถ
เป็นไปอย่างแม่นย า และหากเกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อองค์กรอย่างรุนแรง
นอกจากนี้ ความเสี่ยงด้านเหตุการณ์ยังรวมไปถึงปัจจัยที่นอกเหนือการควบคุมของผู้บริหาร
ท าให้แผนยุทธศาสตร์ไม่สามารถประสบความส าเร็จได้ตามเป้ าประสงค์ที่ตั้งไว้ ดังนั้น แม้ว่าองค์กรจะมี
การจัดการบริหารความเสี่ยงด้านธุรกิจ ความเสี่ยงจากการด าเนินงาน ความเสี่ยงทางการเงิน และความเสี่ยง
ด้านเหตุการณ์ภายในองค์กรไว้อย่างเหมาสมและครบถ้วน การด าเนินการตามแผนยุทธศาสตร์อาจไม่
สามารถบรรลุผลส าเร็จได้หากขาดการวางแผนรองรับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก เช่น ความเสี่ยงทาง
การเมือง เช่น การเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ส่งผลให้การด าเนินการตามแผนยุทธศาสตร์บางแผนไม่สอดคล้องกับ
นโยบายของรัฐบาลใหม่ ท าให้ไม่สามารถด าเนินการเสร็จสิ้นได้ การโยกย้ายผู้บริหารท าให้ขาดความ
ต่อเนื่องของการด าเนินงาน เนื่องจากผู้บริหารใหม่อาจไม่เห็นถึงความส าคัญของแผนยุทธศาสตร์เดิม หรือ
อาจมีแนวทาง การบริหารที่แตกต่างกันออกไปจากแผนเดิม เป็นต้น
5. ความเสี่ยงของการด าเนินโครงการ การบริหารความเสี่ยงเป็นกระบวนการบริหารอย่างเป็น
ระบบที่มีการวางแผนตั้งแต่การระบุปัจจัยเสี่ยงของโครงการ การวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงของ
โครงการ การก าหนดแผนรองรับความเสี่ยงของโครงการ ตลอดจนการติดตามประเมินผลการด าเนิน
โครงการ ในการบริหารความเสี่ยงต้องอาศัยข้อมูล เครื่องมือ และเทคนิคต่าง ๆ ที่ช่วยให้ผู้จัดโครงการ
สามารถบริหารโครงการด้วยความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์เป็นเชิงบวกกับโครงการมากที่สุด และ
ลดโอกาสการเกิดเหตุการณ์ที่จะส่งผลลบกับโครงการให้มากที่สุด ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า องค์ประกอบที่มี
ความส าคัญต่อความส าเร็จของยุทธศาสตร์คือการบริหารโครงการอย่างเป็นระบบ โดยค านึงถึงปัจจัยเสี่ยง
ด้านต่าง ๆ ของโครงการ และมีการวางแผนรองรับเหตุการณ์ความสุญเสียที่อาจะเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ เป้ าหมาย
หลักของการบริหารโครงการคือการบริหารโครงการให้สามารถด าเนินไปอย่างต่อเนื่องภายใต้ระยะเวลา
และงบประมาณที่ก าหนด
32