Page 70 - kpi18358
P. 70
4. หลักความมีส่วนร่วม ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และเสนอความเห็น
ในการตัดสินใจในปัญหาส าคัญของประเทศ ไม่ว่าด้วยการแจ้งความเห็น การไต่สวนสาธารณะ
การประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติ หรืออื่น ๆ
5. หลักความรับผิดชอบ ได้แก่ การตระหนักในสิทธิหน้าที่ความส านึกในความรับผิดชอบต่อสังคม
การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมืองและกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพในความ
คิดเห็นที่แตกต่างและความกล้าที่จะยอมรับผลจากการกระท าของตน
6. หลักความคุ้มค่า ได้แก่ การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจ ากัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
แก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัด ใช้ของอย่างคุ้มค่า สร้างสรรค์สินค้าและบริการที่มี
คุณภาพสามารถแข่นขันได้ในเวทีโลกและรักษาพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน
2.2.5 รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government)
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Government เป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับการจัดการภาครัฐแนวใหม่
ซึ่งเป็ นการปรับปรุงภาครัฐให้มีการบริหารที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน เป็ นการ
เปลี่ยนแปลงที่ใช้เทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการสร้างโอกาสใหม่ในระบบเศรษฐกิจ
1. ความหมายของ E-Government
การที่รัฐน าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการปรับปรุงองค์กรของรัฐและพัฒนา
ศักยภาพในการด าเนินงาน การบริการให้แก่ภาคเอกชนและประชาชนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยระบบ
E-Government จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการของรัฐ ซึ่งระบบจะไม่สามารถ
ประสบผลส าเร็จได้หากไม่ได้รับความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน (ประสบโชค ประมงกิจ,
2549, น. 2)
การให้บริการของภาครัฐผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มการเข้าถึงบริการ
ของภาครัฐ เสริมสร้างความโปร่งใสของการด าเนินงานของภาครัฐ สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน
และท าให้หน่วยงานของรัฐรับผิดชอบต่อประชาชนมากขึ้น (ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์, 2548, น. 53)
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยในการบริหารจัดการภาครัฐ
การให้บริการของภาครัฐแก่ประชาชนและหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งการพัฒนากระบวนการท างานของ
หน่วยงานรัฐให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและมีธรรมาภิบาลมากขึ้น (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ, 2550,
น. 10)
27