Page 67 - kpi18358
P. 67

ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ และชุมชนนิยม โดยมุ่งเน้นให้ความส าคัญในเรื่องสิทธิ เสรีภาพ และ

               การมีส่วนร่วมของประชาชน การกระจายอ านาจสู่ท้องถิ่นและเพิ่มอ านาจให้ประชาชน ความโปร่งใส

               ความเสมอภาคและความเป็นธรรม (ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, 2552, น. 3-4)



                       ในส่วนประเทศไทยแนวคิดธรรมาภิบาลได้เริ่มเข้ามาในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2540โดยสาเหตุ

               ส าคัญส่วนหนึ่งมาจากการบริหารจัดการระดับชาติ ระดับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีความบกพร่อง

               ขาดประสิทธิภาพ รวมถึงปัญหาการทุจริตและขาดจริยธรรมของบุคลากร ประกอบกับสถานการณ์

               ทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และการบริหารงานภาครัฐที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแต่โครงสร้าง

               ของภาครัฐยังขาดความยืดหยุ่น ข้าราชการไม่สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้

               จากวิกฤติปัญหาในช่วงนี้ ก่อให้เกิดความจ าเป็นในการปฏิรูประบบบริหารราชการ การออกกฎหมายและ

               กติกา รวมทั้งเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อเป้ าหมายในการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการภาครัฐในทุกส่วน

               (ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ,  2552,  น. 1) ในขณะเดียวกันภาคเอกชนก็มีความพยายาม

               เสริมสร้างธรรมาภิบาลในภาคธุรกิจเอกชน (Good  Corporate  Governance) เพื่อก ากับ ดูแล ติดตาม


               การด าเนินการหรือกิจกรรมภาคธุรกิจเอกชนให้สอดคล้องกับการบริหารกิจการที่ดีควบคู่ไปกับการสนอง

               ต่อผู้มีส่วนได้เสีย (ผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร พนังงาน เจ้าหนี้ รัฐบาล) ทั้งนี้ โดยประยุกต์ใช้

               หลักการธรรมาภิบาลที่ดีขององค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจและพัฒนา (Organization  for  Economic

               Cooperation and Development : OECD)


                       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พุทธศักราช 2540 นับเป็นจุดเริ่มต้นการก าหนดรับรอง

               หลักธรรมาภิบาล หรือ การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มีการวางรากฐานของหลักธรรมาภิบาลที่ส าคัญ


               ได้แก่ การตรวจสอบอ านาจรัฐ การเสริมสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่ และส่งเสริมการมีส่วนร่วม

               ของทุกภาคส่วนทั้งในระดับชาติ ท้องถิ่น ชุมชน อีกทั้ง ก าหนดหลักความรับผิดชอบร่วมกัน

               ในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐมนตรีทั้งคณะโดยผูกพันต้องด าเนินการตามรับธรรมนูญ กฎหมาย

               และนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา


                       1. ความหมายของธรรมาภิบาล



                       ค าว่า “Good  Governance” ในประเทศไทยมีการใช้ค าศัพท์เรียกหลายค า เช่น ธรรมาภิบาล

               การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี ธรรมรัฐ ธรรมราษฎร์ การปกครองที่ดี ซึ่งมีนักวิชาการและ

               หน่วยงานได้พยายามให้ความหมายของค าดังกล่าว ดังนี้



                                                            24
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72