Page 68 - kpi18358
P. 68

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ อธิบายความหมายของธรรมาภิบาลว่าหมายถึง การปกครอง การบริหาร

               การจัดการ การควบคุมดูแลกิจการต่าง ๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม รวมทั้งหมายถึงการบริหารจัดการที่ดี

               ซึ่งสามารถน าไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ธรรมที่ใช้ในการบริหารงานในความหมายอย่างกว้างนั้นไม่ได้

               หมายถึงหลักธรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่รวมถึงศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และความถูกต้องชอบธรรม


               ซึ่งวิญญูชนพึงมีและปฏิบัติ เช่น ความโปร่งใสตรวจสอบได้ การปราศจากการแทรกแซงจากองค์กรภายนอก

               เป็นต้น


                       ทศพร ศิริสัมพันธ์ อธิบายความหมายของ ธรรมาภิบาลว่า เป็นเรื่องของการวางระบบและกลไก

               เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และอีกด้านหนึ่งเป็นเรื่องของตัวบุคคล ซึ่งเป็นการสร้างจิตส านึกใน

               เรื่องคุณธรรมและจริยธรรม ธรรมาภิบาลเน้นการวางระบบเพื่อควบคุมให้คนไม่ประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ไม่ดี

               และให้ท าตามมาตรฐานที่ดี แต่จริยธรรมจะเน้นการปลูกจิตส านึก



                       สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ธรรมาภิบาล คือ การปกครอง การบริหาร การจัดการ

               การควบคุมดูแลกิจการต่าง ๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม และยังหมายถึงการบริหารจัดการที่ดีสามารถ

               น าไปใช้ทั้งภาครัฐและเอกชน ธรรมที่ใช้ในการบริหารงานนี้มีความหมายอย่างกว้าง กล่าวคือ ไม่ใช่

               ความหมายเพียงหลักธรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่รวมถึงศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และความถูกต้องชอบ

               ธรรมทั้งปวง    ซึ่งวิญญูชนควรปฏิบัติ อาทิ ความโปร่งใสตรวจสอบได้ การปราศจากการแทรกแซงจาก

               องค์กรภายนอก เป็นต้น


                       คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติส าหรับเอเชียและแปซิฟิก (United Nations


               Economic and Social Commission for Asia and the Pacific : UNESCAP) ได้อธิบายว่า การบริหารกิจการ

               บ้านเมืองที่ดีเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจัดการโครงสร้างและความสัมพันธ์ของสถาบันทางการเมือง

               ซึ่งครอบคลุมทั้งในส่วนสถาบันทางการเมืองที่มีลักษณะเป็นทางการและไม่เป็นทางการ การตัดสินใจ

               จัดสรรทรัพยากรเพื่อบริหารกิจการของบ้านเมืองและแก้ไขปัญหาสังคม ตลอดจนกระบวนการเข้ามา

               มีส่วนร่วมของฝ่ายต่าง ๆ ในการก าหนดนโยบายสาธารณะ และการน านโยบายสาธารณะไปปฏิบัติภายใต้

               กรอบและกระบวนการทางกฎหมายอันชอบธรรม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มั่นใจว่าความต้องการของทุก

               ฝ่ายในสังคมจะได้รับการรับฟัง และน าเข้ามาพิจารณาไตร่ตรองในการตัดสินใจและก าหนดนโยบาย

               สาธารณะ สามารถตอบสนองความต้องการของสังคมทั้งในปัจจุบันและในอนาคต รวมทั้งท าให้ปัญหาการ

               ทุจริตหรือประพฤติมิชอบลดลงได้ในท้ายที่สุด





                                                            25
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73