Page 64 - kpi18358
P. 64

2.2.3 การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management)



                       การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New  Public  Management) เป็นการปรับเปลี่ยนการบริหาร

               จัดการภาครัฐ โดยการน าแนวทางหรือวิธีการบริหารงานของภาคเอกชนมาปรับใช้กับการบริหาร

               เช่น การบริหารงานแบบมุ่งเน้นผลลัพธ์ การบริหารงานแบบมืออาชีพ การค านึงถึงหลักความคุ้มค่า การเปิด

               โอกาสให้เอกชนเข้ามาแข่งขันการให้บริการสาธารณะ การให้ความส าคัญต่อค่านิยม คุณธรรมและ

               จริยธรรม ตลอดจนมุ่งเน้นการให้บริการประชาชนโดยค านึงถึงคุณภาพเป็นส าคัญ โดยแนวคิดการบริหาร

               จัดการภาครัฐแนวใหม่มีจุดเริ่มต้นจากความพยายามในการอธิบายปรากฏการณ์ทางการบริหารงานภาครัฐที่

               เกิดขึ้นราวทศวรรษที่ 1980 ในกลุ่มประเทศเวสมินเตอร์ (Westminster) ซึ่งมีการด าเนินการปฏิรูประบบ

               การบริหารงานภาครัฐก้าวหน้าอย่างมาก เนื่องจากต้องการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

               กลไกการบริหารงานภาครัฐจึงมีสมรรถนะในการจัดการที่สูงเพียงพอส าหรับการรองรับการขับเคลื่อน


               ประเทศให้ก้าวหน้าไปในทิศทางที่พึ่งประสงค์ (วีระศักดิ์ เครือเทพ, ม.ป.ป., น. 2)


                       ลักษณะส าคัญของการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ มีนักวิชาการหลายท่านที่แสดงถึงแนวคิดนี้

               แต่ในที่นี้จะขอน าแนวคิดของนักวิชาการสองท่าน คือ คริสโตเฟอร์ ฮูด (Christopher Hood) และ โจนาธาน

               บอสตัน (Jonathan  Boston) โดยได้สรุปให้เห็นถึงลักษณะส าคัญของการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่

               (วีระศักดิ์ เครือเทพ, ม.ป.ป. , น. 2; จุมพล หนิมพานิช, 2553, น. 430-431) ดังต่อไปนี้



                          1.  ให้ความส าคัญกับการบริหารอย่างมืออาชีพ (Professional  Management) เน้นความเป็น

                       อิสระในการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการท างานที่สามารถน าไปสู่ความส าเร็จของ

                       องค์กร

                          2.  ปรับวิธีการบริหารให้มีความทันสมัย และพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้ง

                       ประยุกต์ใช้เทคนิควิธีการบริหารจัดการของเอกชนกับการบริหารงานภาครัฐ

                          3.  ปรับโครงสร้างขององค์กรให้มีขนาดเล็กลง เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและปฏิบัติงานได้

                       อย่างมีประสิทธิภาพ

                          4.  ส่งเสริมให้มีระบบการให้รางวัลตอบแทน เพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงานโดยอาจให้

                       รางวัลในรูปแบบของเงินมากขึ้น

                          5.  ส่งเสริมระเบียบวินัยการเงินการคลัง สร้างระเบียบวิจัยและความประหยัดในการใช้จ่าย

                       ขององค์กรเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากร





                                                            21
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69