Page 60 - kpi18358
P. 60

คัดเลือกแผนงาน/โครงการเพื่อวางแผน  และการตรวจราชการสามารถท าได้สอดคล้องกันอย่างเป็นระบบ

               แต่รูปแบบเช่นนี้ก็มีข้อเสียในแง่ของการแยกส่วนภารกิจด้านระบบการควบคุมภายในทางการบริหารออกไป

               จากหัวหน้าหน่วยงาน ซึ่งอาจส่งผลท าให้ระบบการบริหารจัดการของหน่วยงานเกิดความอ่อนแอได้


                       2. การจัดโครงสร้างกระจายการตรวจราชการ (Decentralized  Inspection  System) ประเทศที่ใช้

               รูปแบบเช่นนี้ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และอังกฤษ โดยจะมีการแต่งตั้งผู้ตรวจราชการประจ า

               ของแต่ละหน่วยงานไว้เป็นการเฉพาะไม่ได้รวมกันไว้ในหน่วยงานกลาง ซึ่งการจัดระบบการตรวจราชการ

               แบบนี้อาจจะมีปัญหาในด้านเอกภาพและการประสานงาน  ดังนั้น จึงได้มีการสร้างกลไกและจัดวางระบบ


               การประสานงานให้เป็นไปในทิศทางและอยู่ภายใต้เกณฑ์มาตรฐานเดียวกัน เช่น สภาว่าด้วยความซื่อสัตย์

               และประสิทธิภาพของการตรวจราชการ (Council  of  Inspectors  General  on  Integrity  and  Efficiency  :

               CIGIE) ของสหรัฐอเมริกา และฝ่ายประเมินประสิทธิผล (Effective  Performance  Division) ของกลุ่มงาน

               ปรับปรุงระบบราชการให้มีความทันสมัย (Modernizing  Public  Service  Group) ในส านักงานของ

               คณะรัฐมนตรีของอังกฤษ เป็นต้น


                           3. การจัดโครงสร้างและระบบในรูปแบบผสม (Mixed  Inspection  System) ประเทศที่ใช้

               โครงสร้างแบบนี้ คือ ประเทศเกาหลี เป็นรูปแบบที่มีการจัดตั้งหน่วยงานกลางหรือคณะกรรมการตรวจสอบ

               และตรวจราชการ (Board of Audit and Inspection) ให้มีลักษณะเป็นทั้งองค์กรตรวจสอบอิสระภายนอกและ

               กลไกการควบคุมภายในของฝ่ายบริหาร  เพื่อท าหน้าที่ตรวจสอบและตรวจราชการหน่วยงานราชการ

               องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ นอกจากนี้ ยังท าหน้าที่ก ากับดูแล สนับสนุนและประสานการ

               ด าเนินงานของผู้ตรวจราชการประจ าหน่วยงานต่าง ๆ ให้เป็นไปในทิศทางและแนวทางที่ก าหนดไว้



               2.2 แนวคิดการบริหารราชการแผ่นดินที่เกี่ยวข้องกับการตรวจราชการ


                       2.2.1 แนวคิดประชารัฐ

                       แนวคิดประชารัฐได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีรัฐศาสตร์เชิงสังคมวิทยาเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง

               แบบมีส่วนร่วมหรือประชารัฐ ผสมผสานเข้ากับประชาธิปไตยแบบรากหญ้า โดยมีความพยายามให้


               ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองบ้านเมืองไม่ใช่เพียงแต่การออกเสียงเลือกตั้ง รวมทั้งส่งเสริมให้

               เกิดการรวมตัวกันเพื่อดูแลพัฒนาตนเองบนพื้นฐานของจิตสาธารณะและผลประโยชน์ของส่วนรวม หรือ

               อีกนัยหนึ่ง อาจจะกล่าวได้ว่า แนวทางประชารัฐเป็นอุดมการณ์ทางการเมืองที่สะท้อนความส าคัญของ

               ประชาธิปไตยที่ต้องให้พลเมืองเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างแท้จริง โดยกระตุ้นให้ประชาชน




                                                            17
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65