Page 65 - kpi18358
P. 65

6.  ให้ความส าคัญกับการก าหนดวัตถุประสงค์การปฏิบัติงานที่ชัดเจน (Clear  Objective)

                       พร้อมทั้งก าหนดตัวชี้วัดการปฏิบัติงานอย่างเป็นรูปธรรม เน้นการบริหารจัดการที่น าไปสู่

                       ความส าเร็จขององค์กรมากกว่าที่จะให้ความส าคัญกับนโยบาย หรือระเบียบแบบแผน

                          7.  เน้นการแปรรูปรัฐวิสาหกิจหรือแปรสภาพจากกิจการของรัฐให้เป็นเอกชน ให้มีการจ้าง


                       เหมาบุคคลภายนอก รวมทั้งการปรับรูปแบบสัญญาจ้างบุคลากรของภาครัฐให้มีระยะเวลาที่สั้นและ

                       ก าหนดเงื่อนไขข้อตกลงที่ชัดเจนตรวจสอบได้

                          8.  ส่งเสริมให้มีระบบการแข่งขันในการจัดบริการสาธารณะ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนและเกิดการ

                       ปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพการให้บริการสาธารณะ

                      การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ของประเทศไทยไม่ได้พึ่งเกิดขึ้นจากหลังการปฏิรูประบบราชการ

               ในปี พ.ศ. 2545 แต่มีการเกิดขึ้นก่อนหน้านี้แล้ว โดยระบบการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ของไทยได้รับ

               อิทธิจากแนวคิด 2  กระแส คือ แนวคิดของ Hood  และ Boston  ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น และยังมีอิทธิพลของ


               ประชาธิปไตยแนวใหม่ หรือ ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ซึ่งมีความพยายามที่จะเปิดระบบราชการให้

               เข้าสู่กระบวนการประชาธิปไตยและยึดหลักนิติธรรม ส่งผลต่อการวางยุทธศาสตร์การปฏิรูปภาครัฐหรือ

               การปฏิรูประบบการบริหารงานภาครัฐของไทย ต่อมาเมื่อเกิดการปฏิรูประบบการบริหารงานภาครัฐ

               ท าให้รูปแบบของการบริหารภาครัฐแนวใหม่ของไทยมีความชัดเจนยิ่งขึ้น โดยการปฏิรูประบบราชการ

               ในปี พ.ศ. 2545 เป็นการปรับปรุงภาครัฐตามกรอบแนวคิดที่ผสมระหว่างการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่

               และหลักการของแนวคิดตามระบอบประชาธิปไตย ที่เน้นการสร้างระบบราชการที่มีคุณลักษณะของระบบ

               ในเชิงประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล หรือ การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

               และหลักประชาธิปไตย อาจกล่าวได้ว่า ปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งที่ท าให้เกิดแนวคิดการบริหาร

               จัดการแนวใหม่ในประเทศไทย (จุมพล หนิมพานิช, 2553, น. 432, 440)


                      การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่เป็นแนวคิดที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการปฏิรูประบบราชการและ
               การปฏิรูปการบริหารจัดการภาครัฐ ในการปฏิรูประบบราชการมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการประสบปัญหา


               จากระบบราชการและตัวข้าราชการ และอีกส่วนหนึ่งมาจากแรงกดดันของกระแสสังคมโลก ซึ่งส่งผลท าให้

               รัฐต้องท างานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งกระแสของประชาธิปไตยที่ภาคประชาชนมีความคาดหวังจากรัฐ

               มากขึ้น การปฏิรูประบบราชการจึงเป็นภารกิจที่รัฐบาลทุ่มเทเวลาและทรัพยากรในการเปลี่ยนแปลง

               การบริหารราชการแผ่นดิน การให้บริการและพัฒนาระบบราชการตามหลักการบริหารราชการแนวใหม่

               มีเป้ าหมายเพื่อให้ได้ระบบราชการ หรือ ระบบบริหารงานภาครัฐยุคใหม่ ซึ่งหลังจากการปฏิรูประบบ

               ราชการหรือระบบการบริหารงานภาครัฐควรมีลักษณะที่พึงประสงค์ 9 ประการ ดังนี้


                                                            22
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70