Page 63 - kpi18358
P. 63
ของการพัฒนา รวมทั้งก าหนดบทบาทและยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับศักยภาพและ
โอกาสของพื้นที่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เกิดการลงทุนเพื่อสร้างงานและ
สร้างรายได้และความมั่งคั่งให้แก่ประชาชนในพื้นที่ (วราพร ศรีสุพรรณ, 2550, น. 32)
ในการพัฒนาเชิงพื้นที่จะเน้นให้เป็นการพัฒนาแบบบูรณาการโดยค านึงถึงความเชื่อมโยงของ
กิจกรรมการพัฒนาในทุกด้าน และมุ่งเน้นให้มีความเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่พร้อม ๆ กับการค านึงถึง
อัตลักษณ์หรือความโดดเด่นของพื้นที่นั้น ๆ รวมทั้งให้ความส าคัญกับภาคเอกชนในฐานะภาคีที่เป็นกลไก
ส าคัญของการพัฒนา ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 มีการระบุไว้ชัดเจนว่ารัฐจะ
สนับสนุนการน าระบบการบริหารเชิงยุทธศาสตร์แบบบูรณาการที่ยึดพื้นที่ ภารกิจตามประเด็นยุทธศาสตร์
และการมีส่วนร่วมมาใช้ในการบริหารการพัฒนาในระดับภูมิภาคและสร้างความเชื่อมโยงกับชุมชนท้องถิ่น
ให้เป็นระบบที่ริเริ่มแก้ไขปัญหาพัฒนาพื้นที่ โดยน าเอาปัญหาความต้องการของประชาชน รวมทั้งศักยภาพ
และสังคมของพื้นที่มาก าหนดยุทธศาสตร์แนวทางการพัฒนาภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย
ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาพื้นที่ สิ่งส าคัญอันดับแรก คือ การวิเคราะห์พื้นที่ โดยผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับภูมิภาคหรือ
หน่วยพื้นที่ต่าง ๆ ควรท าความเข้าใจในเรื่องต่อไปนี้ (วราพร ศรีสุพรรณ, 2550, น. 32-33)
1. เข้าใจความเป็นมาของหน่วยพื้นที่นั้นในแง่เวลาตลอดจนการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้ง
รูปแบบปัจจุบันที่ปรากฏอาจสะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้น ต้องทัน
ต่อทิศทางการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ต้องตรวจสอบความสัมพันธ์ที่มาในอดีตเพื่อเข้าใจปัจจุบัน
2. ให้ความส าคัญต่อขนาดพื้นที่ มาตราส่วน และรายละเอียดต่าง ๆ ที่ปรากฏในมาตราส่วน
3. ให้ความส าคัญกับปัจจัยทางกายภาพและชีวภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องอาศัยในการด ารงชีวิต
ทั้งในชนบทหรือในเมือง
4. การศึกษาต้องเริ่มจากภาคสนาม เริ่มจากสิ่งที่เห็นได้ จับต้องได้ทั้งสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติและ
สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นต้องเข้าใจความสัมพันธ์ที่ประกอบรวมกันเป็นชุมชนในความหมายที่เป็นหน่วยเดียวกัน
5. ต้องค านึงถึงความส าคัญของค่านิยมและความรู้สึกของประชาชนในพื้นที่นั้น ๆ
20