Page 66 - kpi18358
P. 66
1. รัฐมีบทบาทหน้าที่เฉพาะในส่วนที่จ าเป็นจะต้องท าเท่านั้น เพื่อเปิ ดโอกาสให้ภาคเอกชน
ประชาชน ชุมชนเข้ามามีบทบาทมากขึ้น
2. การบริหารจัดการภายในภาคราชการจะต้องมีความรวดเร็ว มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
3. ตัดองค์กรให้มีความกะทัดรัด เหมาะสม คล่องตัว และสามารถปรับเปลี่ยนไปตามการ
เปลี่ยนแปลงนโยบายและสภาพแวดล้อม
4. การท างานและการให้บริการต้องมีลักษณะที่ทันสมัย ใช้เทคโนโลยี เครื่องมือ อุปกรณ์ที่
เหมาะสมต่อการท างานที่รวดเร็ว
5. ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐมีคุณภาพและมีมาตรฐานทางคุณธรรม เป็นมืออาชีพ และวางตัว
เป็นกลางทางการเมือง
6. ข้าราชการท างานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ ซึ่งมีประชาชนและประเทศชาติเป็นเป้ าหมาย
7. มีกลไกการบริหารงานบุคคลที่ได้มาตรฐานมีระบบค่าตอบแทนที่เป็นธรรม เพื่อเปิดโอกาสให้คน
ไทยที่มีคุณภาพและมีศักยภาพเต็มใจเข้ารับราชการเป็นอาชีพ
8. มีวัฒนธรรมและบรรยากาศในการท างานแบบมีส่วนร่วม
9. มีความโปร่งใส มีความรับผิดชอบ และตรวจสอบได้
คุณลักษณะที่เป็ นสากลทั้ง 9 ประการนี้เป็ นรูปแบบที่นักคิด นักวิชาการ และประชาชน
จากภาคส่วนต่าง ๆ ในประเทศไทยยอมรับและมีความเห็นที่สอดคล้องกันว่าควรเป็นคุณลักษณะ
ของระบบราชการไทย หรือ ระบบการบริหารงานภาครัฐที่พึงประสงค์ (จุมพล หนิมพานิช, 2553,
น. 414-416) จากคุณลักษณะดังกล่าว ท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อระบบโครงสร้างและระบบราชการไทย
อย่างมาก เช่น การปรับลดก าลังคนในภาครัฐโดยใช้มาตรการต่าง ๆ เช่น มาตรการเกษียณอายุก่อนก าหนด
การบริหารจัดการโดยยึดหลักธรรมาภิบาลหรือการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี การใช้แนวคิดการจัดการ
เชิงกลยุทธ์ และการบริหารงานภาครัฐที่มุ่งเน้นผลงาน (เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์, 2551, น. 238-240)
2.2.4 แนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาล (Good Governance)
แนวคิดธรรมาภิบาลได้รับอิทธิพลจากสองแนวคิดหลัก คือ แนวคิดการบริหารจัดการภาครัฐ
แนวใหม่ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดเศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิก และเทคนิควิธีการบริหารจัดการ
สมัยใหม่ ที่มุ่งเน้นความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า ประสิทธิผล คุณภาพ ความรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่
และแนวคิดประชาธิปไตยสมัยใหม่ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากแนวความคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยทางตรง และ
23