Page 69 - kpi18358
P. 69

2. หลักการบริหารจัดการบ้านเมืองและสังคมที่ดีของส านักนายกรัฐมนตรี



                       ในระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี

               พ.ศ. 2542 มีจุดประสงค์เพื่อ 1.) สร้างกฎเกณฑ์และกลไกที่ดีในการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมเพื่อให้

               หน่วยงานที่มีอ านาจหน้าที่โดยตรงสามารถส่งสัญญาณเตือนภัยและผู้เกี่ยวข้องสามารถปรับเปลี่ยนกลไก

               และฟันเฟืองการท างานและการประสานงานในภาครัฐและภาคเอกชนรองรับได้อย่างทันท่วงทีหากเกิด

               ปัญหา 2.) พัฒนาศักยภาพของนักวิชาการให้สามารถศึกษา ค้นคว้าและเสนอแนะแนวทางการแก้ไข

               จุดบกพร่องต่าง ๆ ที่จ าเป็นต่อการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมอย่างถูกต้อง กล้าหาญ และมีจริยธรรม

               3.) ปรับปรุงระบบการตัดสินใจและการบริหารจัดการทั้งของภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชนให้รวดเร็ว ชัดเจน

               และเป็นธรรม 4.) ขยายโอกาสของประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารโดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์

               บ้านเมืองเพื่อร่วมกับภาครัฐในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาร่วมกัน 5.) ขจัดทุจริตประพฤติมิชอบ


               และหลีกเลี่ยงกฎหมายเพื่อแสวงหาประโยชน์ใส่ตนหรือกิจการที่ตนมีส่วนได้เสียทั้งในภาครัฐและภาค
               ธุรกิจเอกชนเพื่อให้เกิดความส านึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมร่วมกัน ในการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคม


               ที่ดีนั้นควรส่งเสริมให้สังคมอยู่บนพื้นฐานของหลักส าคัญอย่างน้อย 6 ประการ ดังนี้


                       1. หลักนิติธรรม ได้แก่ การตรากฎหมาย กฎ ข้อบังคับต่าง ๆ ให้ทันสมัย เป็นธรรมและเป็นที่

               ยอมรับของสังคม และสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ข้อบังคับเหล่านั้น โดยถือว่าเป็นการ

               ปกครองภายใต้กฎหมายมิใช้ตามอ าเภอใจหรืออ านาจของบุคคล



                       2. หลักคุณธรรม ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยรณรงค์ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐยึดหลักนี้ใน

               การปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นตัวอย่างแก่สังคมและส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน

               เพื่อให้คนไทยมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริตจนเป็นนิสัยประจ า

               ชาติ


                       3. หลักความโปร่งใส ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ โดยปรับปรุง

               กลไกการท างานขององค์กรทุกวงการให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์อย่าง

               ตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก และมีกระบวนการให้


               ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้









                                                            26
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74