Page 336 - kpi17968
P. 336
325
หลักนิติธรรม ป น ก หมาย หร ั นธรรม
ข้อสังเกตต่อ “หลักนิติธรรม” : หลักการและเหตุผลของสถาบันพระปกเกล้า
ตามคำอธิบายในส่วนหลักการและเหตุผลของ “การประชุมวิชาการสถาบัน
พระปกเกล้า ครั้งที่ 17 ประจำปี 2558 เรื่อง “หลักนิติธรรม กับ ประชาธิปไตย”
(Rule of Law and Democracy) วันที่ 6 -8 พฤศจิกายน 2558 ณ
ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอกกรุงเทพมหานคร ได้กล่าวถึง
หลักนิติธรรม (Rule of Law) ไว้ว่าเป็นคำที่มีการนิยามแตกต่างกันไป และ
หนึ่งในคำนิยามที่มีความชัดเจนมากที่สุดคือคำนิยามของ Justice Tom Bingham
ซึ่งได้ให้ความหมายหลักนิติธรรมไว้ว่าหมายถึง
“‘[หลักที่กำหนดให้] บุคคลทุกคนและองค์กรทุกองค์กรในรัฐไม่ว่า
จะเป็นองค์กรภาครัฐหรือภาคเอกชน จะต้องอยู่ใต้กฎหมายของรัฐ และ
เป็นกฎหมายที่ถูกบังคับใช้โดยศาล’ ส่วนในประเทศไทยนั้น มีแนวความ
คิดว่าหลักนิติธรรม เป็นกฎเกณฑ์แห่งการใช้กฎหมายซึ่งเป็นหลักที่อยู่
เหนือกฎหมายอีกชั้นหนึ่ง โดยหลักนิติธรรมจะเป็นสิ่งที่กำหนดระเบียบ
แบบแผนแห่งกฎหมายเพื่อป้องกันการตรากฎหมายมาใช้บังคับตาม
อำเภอใจโดยปราศจากกฎเกณฑ์ที่เป็นธรรม และเป็นแนวความคิดที่ได้รับ
การพัฒนาจากประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายจารีต
ประเพณี (Common Law) หรือระบบกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์
อักษร) ต่อมา ในภาคพื้นยุโรป ซึ่งใช้ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร
(Civil Law) และในสหรัฐอเมริกาก็ได้มีการพัฒนาหลักการที่คล้ายคลึง
กับหลักนิติธรรมนี้ คือ หลักนิติรัฐ (Legal State) และหลักนิติกระบวน
(Due Process of Law) ซึ่งมีรายละเอียดแตกต่างกัน แต่ไม่ว่าจะเป็น
หลักนิติธรรม นิติรัฐ หรือนิติกระบวน ก็ล้วนแล้วแต่มีจุดประสงค์เหมือน
กันคือ คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและจำกัดอำนาจของรัฐ
95 ดูแนวคิดเรื่อง “รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม-วัฒนธรรมที่เป็นรัฐธรรมนูญ-วัฒนธรรม
ทางการเมืองไทย” ของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ใน ไชยันต์ ไชยพร, นิธิ ใน/กับ วิกฤตการเมืองไทย,
(กรุงเทพฯ: คบไฟ: 2557), หน้า 138-151.
การประชุมกลุมยอยที่ 2