Page 331 - kpi17968
P. 331
320
แต่หลังจากที่มีเครื่องมือและกลไกทางกายภาพของรัฐสมัยใหม่อย่าง
กองทัพประจำการ ระบบราชการ การคมนาคมสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
รวมทั้งมีประชากรหนาแน่นขึ้น ต่อพื้นที่ ก็ส่งผลให้ “ผู้นำสามารถเป็นคน
81
เด็ดขาดได้ และความเด็ดขาดกลายเป็นคุณสมบัติที่ดีของประมุขศิลป์” ความ
เด็ดขาดในฐานะที่เป็น “คุณสมบัติของประมุขศิลป์เกิดในเมืองไทย ตอนที่อาจ
เริ่มจะมีเครื่องมือทางกายภาพแล้ว เช่น เกิดกับกองทัพก่อน เป็นต้น เพราะ
อำนาจบังคับบัญชาในกองทัพประจำการนั้น สามารถใช้โดยเครื่องมือทางกายภาพ
ได้ชัดเจนยิ่งกว่าหน่วยงานอื่น เช่น มีแม้แต่คุกทหารไว้สั่งขังได้เฉียบขาด” 82
ดังนั้น “ความเด็ดขาดเกิดขึ้นในประมุขศิลป์ของกองทัพก่อน แล้วแพร่หลาย
ออกมาข้างนอกในภายหลัง จึงทำให้ความเด็ดขาดในประมุขศิลป์ไทยไม่ได้
พัฒนาการตรวจสอบและควบคุมความเด็ดขาดขึ้นมาด้วย...ผู้นำที่เข้มแข็ง
ของไทยจึงเป็น ผู้นำที่เด็ด ขาดและสั่งการเฉียบขาด แต่ไม่มีใครหรือองค์กร
83
อะไรตรวจสอบควบคุม” ขณะเดียวกัน “ความชอบธรรมของการนำไม่ได้เกิด
ขึ้นจากการตรวจสอบควบคุมกระบวนการตัดสินใจ แต่เกิดขึ้นจากผลงาน ตรงนี้
84
ก็ตรงกับคติไทยที่เน้นในเรื่องสัมฤทธิผลอยู่แล้ว” เช่นกัน
ขณะเดียวกัน คติไทยเรื่องสัมฤทธิผลในวัฒนธรรมทางการเมืองไทยนี้
ยังสะท้อนกรอบวิธีคิดของสังคมต่อประเด็นเรื่องความขัดแย้งอีกด้วย กล่าวคือ
วัฒนธรรมทางการเมืองไทยเป็นวัฒนธรรมที่ “ไม่ชอบความขัดแย้ง แต่ไม่ได้
ไร้เดียงสาจนไม่ยอมรับว่าความขัดแย้งเป็นปกติธรรมดาของสังคม แต่คนไทย
คงชอบที่จะเห็นความขัดแย้งถูกระงับไปโดยเร็วด้วยอำนาจเด็ดขาดหรือถึงจุด
สิ้นสุดในตัวเอง ดังนั้น ระหว่างการ ‘ปล่อยคนผิดให้หลุดสัก 10 คนยังดีกว่าเอา
คนถูกติดคุกคนเดียว’ กับ ‘เอาคนถูกติดคุกสัก 10 คน ยังดีกว่าปล่อยให้ทะเลาะกัน
ไม่เลิกโดยไม่รู้ว่า ใครผิดใครถูก’ ถ้าเลือกอย่างหลัง คนที่ไปจุดประเด็นความ
เดือดร้อนจนทะเลาะกันไม่เลิกโดยไม่รู้ว่าใครผิดใครถูกนั่นแหละ คือคนที่ไม่น่า
81 เพิ่งอ้าง, หน้า 29.
82 เพิ่งอ้าง, หน้าเดียวกัน.
83 เพิ่งอ้าง, หน้าเดียวกัน.
84 เพิ่งอ้าง, หน้าเดียวกัน.
การประชุมกลุมยอยที่ 2