Page 327 - kpi17968
P. 327
316
ดังนั้น สำหรับ นิธิ การจะเข้าใจปรากฏการณ์ทางการเมืองในสังคมไทย
จึงต้องมองทะลุ การเกิดและดับของ “รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร” ทั้งสิบแปด
ฉบับลงไปถึง “รัฐธรรมนูญฉบับแท้จริง” หรือ “ฉบับวัฒนธรรม” ซึ่งก็คือ
ตัววัฒนธรรมทางการเมืองของไทยนั่นเอง เพราะ นิธิ เชื่อว่า ความสัมพันธ์ของ
ผู้คนในทางสังคมและทางการเมืองถูกกำหนดภายใต้อิทธิพลของวัฒนธรรม
ทางการเมือง ดังนั้น อิทธิพลของวัฒนธรรมทางการเมืองไทยจึงมีสถานะของ
การเป็นรัฐธรรมนูญที่แท้จริงที่กำหนดความเป็นไปในสังคมการเมืองมากกว่า
รัฐธรรมนูญฉบับลายลักษณ์อักษรที่ร่างขึ้นอย่างแปลกแยกจากวัฒนธรรมทาง
การเมือง ซึ่งคำอธิบายเกี่ยวกับ “รัฐธรรมนูญฉบับลายลักษณ์อักษร” และ
“รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม” ดังกล่าวนี้ของ นิธิ ก็เป็นสิ่งที่นักรัฐศาสตร์อาวุโส
อย่างเสน่ห์ จามริก ได้กล่าวไว้ก่อนแล้วในทำนองเดียวกัน โดย เสน่ห์ ได้ชี้ให้เห็น
ถึงความแปลกแยกไม่ลงรอยกันระหว่างสิ่งที่เขาเรียกว่า “แนวอุดมการณ์ของ
ระบอบรัฐธรรมนูญเสรีนิยม” และ “‘ขนบธรรมเนียม’ การปกครองอันแนบแน่น
64
อยู่ในค่านิยมวัฒนธรรมทางการเมืองของไทย” และเสน่ห์เห็นว่า โดยแท้จริงแล้ว
เราจะสามารถเข้าใจ “สภาพและปัญหาทางการเมืองและรัฐธรรมนูญของไทย
เช่นที่เป็นมา (ว่า/ผู้เขียน) เป็นผลของปฏิกิริยาตอบโต้และผสมผสานระคนกัน
65
ระหว่างพลังสองกระแสเหล่านี้” ในประเด็นนี้เสน่ห์ได้ยกข้อความของ
“แมลงหวี่” อันเป็นนามปากกาของ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ที่เขียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ.
2490 โดยเขาเห็นว่าข้อความดังกล่าวอาจช่วยให้เข้าใจประเด็นปัญหาดังกล่าวนี้
ได้ชัดเจนขึ้น ข้อความดังกล่าวมีใจความว่า “การปฏิวัติ ปี พ.ศ. 2475 เป็นการ
ปฏิวัติทางทฤษฎี...การปฏิวัติทางจิตใจของคนไทยหาได้มีขึ้นในครั้งนั้นไม่...
ภาพทางจิตใจของคนไทย ตลอดระยะเวลา 15 ปี (พ.ศ. 2475-2490) ภายใต้
การปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น เป็นภาพที่จะวาดให้เห็นได้ยาก แต่ก็เป็น
ภาพที่คนไทยย่อมเห็นได้ในจิตใจของคนเองอยู่แล้วทั่วทุกคน เราหลับกันมาทั้งๆ
ที่มีรัฐธรรมนูญปลุกให้เราตื่น เราไม่ได้ใยดีเลยว่า รัฐธรรมนูญประสิทธิ์ประสาท
64 เสน่ห์ จามริก, การเมืองไทยกับพัฒนาการรัฐธรรมนูญ, มูลนิธิโครงการตำรา
สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรือนแก้ว: พิมพ์ครั้งแรก 2529, พิมพ์
ครั้งที่ 3 แก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติม, 2549), “รัฐธรรมนูญกับชีวิตการเมือง” หน้า 30.
65 เสน่ห์ จามริก, การเมืองไทยกับพัฒนาการรัฐธรรมนูญ, เพิ่งอ้าง, หน้าเดียวกัน.
การประชุมกลุมยอยที่ 2