Page 323 - kpi17968
P. 323
312
เองและขยายให้ผู้อื่นรับระบบนั้นร่วมกันจะต้องใช้เวลาเกินกว่าชั่วอายุคนไป
สักเท่าใด ระบบความสัมพันธ์หรือวัฒนธรรมจึงมีพลังกำหนดชีวิตของคน
ยิ่งกว่าสิ่งใด” ด้วยเหตุนี้ วัฒนธรรมจึงมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อชีวิตมนุษย์
52
เพราะแม้ว่า “คนเราเกิดมาตัวเปล่า แต่ก็ถูกครอบงำด้วยวัฒนธรรมทันทีที่เกิดมา
เหตุฉะนั้น เราทุกคนขีดเส้นชีวิตของเราได้ในระดับหนึ่ง แต่ขีดทั้งหมดตาม
อำเภอใจไม่ได้ เพราะส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของชีวิตนั้น วัฒนธรรมได้ขีดไว้ให้
53
แล้ว”
วัฒนธรรมทางการเมือง-รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม
ในขณะที่ตลอดระยะเวลาแปดสิบสามปีของการเมืองไทยในระบอบ
พระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ทำให้มี
รัฐธรรมนูญถึงสิบแปดฉบับ ขณะเดียวกันนั้น นักวิชาการทางนิติศาสตร์และ
รัฐศาสตร์ไทยจำนวนหนึ่งก็ยังคงเน้นให้ความสำคัญต่อการออกแบบรัฐธรรมนูญใน
การแก้ไขปัญหาและวิกฤตทางการเมือง แต่สำหรับ นิธิ แม้ว่า รัฐธรรมนูญคือ
“ข้อกำหนดว่าบุคคลและสถาบันต่างๆ ในรัฐหนึ่งนั้นพึงสัมพันธ์กันในเชิงอำนาจ
อย่างไร คำว่าสัมพันธ์กันในเชิงอำนาจแปลให้เป็นภาษาชาวบ้านก็คือใครใหญ่กว่า
54
ใคร และใหญ่ได้ในเงื่อนไขอะไร” แต่ นิธิ ไม่เชื่อว่า รัฐธรรมนูญที่ถูกร่างขึ้นใหม่
อยู่เรื่อยๆ นั้นจะสามารถกำหนดความสัมพันธ์เชิงอำนาจหรือเปลี่ยนแปลงความ
สัมพันธ์เชิงอำนาจในสังคมได้จริง โดยเขาให้เหตุผลว่า
“แท้ที่จริงแล้ว ข้อกำหนดของความสัมพันธ์เชิงอำนาจในสังคม
หนึ่งๆ นั้น ไม่ได้เกิดขึ้นจากใครเป็นผู้กำหนดขึ้น แต่เกิดขึ้นจากการที่
บุคคลและสถาบันต่างๆ ในสังคมนั้น ได้ต่อสู้ช่วงชิงและรักษาสถานะ
52 เพิ่งอ้าง, หน้าเดียวกัน.
53 เพิ่งอ้าง, หน้า 6-7.
54 นิธิ เอียวศรีวงศ์, “รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม” ใน ศิลปวัฒนธรรม, ปีที่ 13 ฉบับที่ 1
(พฤศจิกายน, 2534) ใน ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรียนและอนุสาวรีย์: ว่าด้วยวัฒนธรรม,
รัฐ และรูปการจิตสำนึก อ้างแล้ว, หน้า 126.
การประชุมกลุมยอยที่ 2