Page 321 - kpi17968
P. 321
310
จะเห็นได้ว่า ในความคิดของ นิธิ เพื่อบรรลุเป้าหมายของการมีชีวิตรอด
มนุษย์จึงจำเป็นต้องสัมพันธ์กันและจำเป็น “ต้องจัดความสัมพันธ์ระหว่างคน
ด้วยกันเพื่อให้สามารถมีเครื่องอุปโภคบริโภคประทังชีวิต” ขณะเดียวกัน มนุษย์
ยังต้องการบรรลุเป้าหมายของการมีชีวิตที่ดีอีกด้วย ดังนั้น มนุษย์จึงจำเป็น “ต้อง
จัดให้ความสัมพันธ์นั้น เอื้ออำนวยต่อชีวิตที่ดีด้วย ความสัมพันธ์ดังกล่าวจึงยิ่งเพิ่ม
ความซับซ้อนขึ้นไปอีก” และในการบรรลุเป้าหมายทั้งสอง มนุษย์ต้องสัมพันธ์กับ
คนอื่นและสิ่งอื่นๆ อันได้แก่ สิ่งต่างๆ รอบๆ ตัวของเขา อันได้แก่ ธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมต่างๆ การจัดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกันเองและจัดความ
46
สัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมอื่นๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็น และ “การจัดความ
สัมพันธ์ทั้งสองด้านนี้ต้องมีความเชื่อมโยงกันจนกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน”
ด้วย
47
นิธิ ได้ยกตัวอย่างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของความสัมพันธ์ทั้ง
สองด้านนี้ โดยกล่าวถึง “ความเชื่อเรื่องผีของชนบทไทยบางแห่งกำหนดความ
สัมพันธ์ระหว่างหญิง-ชายให้อยู่ในกรอบที่จะไม่กระเทือนต่อสวัสดิภาพของ
ชุมชนจนเกินไป หมายความว่ากำหนดความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน แต่ใน
ขณะเดียวกัน ความเชื่อเรื่องผี (อาจจะผีคนละตน) ก็กำหนดให้มนุษย์ ตักตวง
ถือประโยชน์จากธรรมชาติได้ในขอบเขตจำกัด คือเพื่อดำรงชีวิตที่ดีเท่านั้น เช่น
จะตัดต้นไม้ใหญ่โดยไม่บัดพลีเทพหรือผีที่สิงในต้นไม้ไม่ได้ ก็ทำให้การทำลาย
ธรรมชาติตามอำเภอใจเกิดขึ้นโดยสะดวกไม่ได้ ความเชื่อเรื่องผีจึงเป็นการจัด
ความสัมพันธ์ทั้งสองด้านไปพร้อมกัน” 48
นิธิอธิบายต่อไปว่า มนุษย์จัดความสัมพันธ์ดังกล่าวโดยการสร้างสถาบัน
ทางสังคมและสถาบันทางการเมืองขึ้นเพื่อเป้าหมายของการมีชีวิตรอดและมี
ชีวิตที่ดี โดยเฉพาะ “สถาบันทางการเมือง” คือการจัดความสัมพันธ์ทาง
อำนาจ “เช่น มีคนบางคนได้อำนาจไว้มากกว่าคนอื่น เพื่อทำให้ทุกๆ คน
สัมพันธ์กันเองและสัมพันธ์กับธรรมชาติในเชิงที่ไม่ทำลายเป้าหมายของชีวิต
46 เพิ่งอ้าง, หน้า 4.
47 เพิ่งอ้าง, หน้าเดียวกัน.
48 เพิ่งอ้าง, หน้าเดียวกัน.
การประชุมกลุมยอยที่ 2