Page 318 - kpi17968
P. 318
307
วัฒนธรรมการเคารพกฎหมาย (วัฒนธรรมนิติธรรม/ผู้เขียน) ประชาธิปไตย
(เน้นโดยผู้เขียน) เป็นตัวแปรอิสระสำคัญหรือไม่? หรือ การจ่ายภาษีขึ้นอยู่กับ
รัฐบาลที่มีประสิทธิภาพ (เน้นโดยผู้เขียน) และลักษณะทางวัฒนธรรมทั่วไป ?
ทำให้ผมอดตั้งคำถามต่อไปไม่ได้ว่า วัฒนธรรมทางการเมืองที่เอื้อต่อ
ประชาธิปไตยเป็นสิ่งเดียวกันกับวัฒนธรรมทางการเมืองที่เอื้อต่อหลักนิติธรรม
หรือไม่?
ั กต นัก ิชาการไ ยต การ ก า ั นธรรม า การ ม
ตาม น รั า ตร กระ หลักตะ ันตก
นักรัฐศาสตร์อย่าง เกษียร เตชะพีระได้เคยกล่าวไว้ว่า
“....ธรรมเนียมของรัฐศาสตร์กระแสหลักมาตรฐานที่ลอกมาจาก
ตะวันตกนั้น มองวัฒนธรรมการเมืองอย่างหยาบง่ายและเฉื่อยเนือยเป็น
ฝ่ายกระทำ กล่าวคือ ศึกษาวัฒนธรรมการเมืองโดยดูความสัมพันธ์
ระหว่าง (วัฒนธรรม) กับ (การเมือง) ว่า วัฒนธรรมเป็นปัจจัยภาคนอก
มากำหนดกระทบ ธำรงรักษาหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเมืองของ
ผู้คนในสังคมอย่างไร วัฒนธรรมเป็นอย่างนี้ พฤติกรรมการเมืองก็เป็น
อย่างนี้ วิธีการสืบรู้วัฒนธรรม (โดยเฉพาะต่างแดนต่างชาติต่างภาษาที่
ตะวันตกอยากเข้าไปรู้เพื่อคาดการณ์และควบคุม ก็โดยสำรวจทัศนคติ
ผู้คนที่เรียกว่า ‘ทำโพล’ และการดูผลกระทบของวัฒนธรรมต่อการเมืองก็
โดยวิจัยพฤติกรรมการเลือกตั้งของพลเมืองผู้มีสิทธิออกเสียงนั่นแหละ
ง่ายชิบเป๋ง ด้วยวิธีแบบสูตรสำเร็จดังกล่าว รัฐศาสตร์ตะวันตกก็สามารถ
เที่ยวตระเวนศึกษาวิจัยวัฒนธรรมการเมืองไปสองร้อยประเทศทั่วโลก
อย่างง่ายดายเหมือนปอกกล้วยเข้าปากโดยไม่ต้องรู้จักภาษาหรือ
43
วัฒนธรรมหรือประวัติศาสตร์ของชาติต่างๆ เหล่านั้นเลย”
43 นิธิ เอียวศรีวงศ์, อ่านวัฒนธรรมทางการเมืองไทย, คำนำเสนอโดย เกษียร เตชะพีระ,
มุกหอม วงศ์เทศ บรรณาธิการ, ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ, (กรุงเทพฯ: มติชน:ตุลาคม
2547), หน้า 9-10
การประชุมกลุมยอยที่ 2