Page 319 - kpi17968
P. 319
308
และด้วยมุมมองดังกล่าวของ เกษียร ต่อแนวการศึกษาวัฒนธรรมทาง
การเมืองของรัฐศาสตร์กระแสหลักมาตรฐานตะวันตกทำให้เกษียรเห็นว่า
การศึกษาวัฒนธรรมทางการเมือไทยของ นิธิ มีความพิเศษน่าสนใจกว่า เพราะถ้า
พิจารณาที่เนื้อหาของ “วัฒนธรรมทางการเมืองไทย” ที่ นิธิ หยิบยกขึ้นมาใช้
สนับสนุนการวิเคราะห์ของเขาจะพบว่า งานของเขานั้นมีความลุ่มลึกเข้มข้นและ
มีน้ำหนักเหนือกว่างานของนักรัฐศาสตร์ทั่วไปที่ศึกษาวัฒนธรรมทางการเมือง
โดยการออกแบบสอบถามสำรวจทัศนคติของผู้คนในปัจจุบันเท่านั้น เพราะใน
ฐานะที่เป็นนักประวัติศาสตร์ชั้นเยี่ยม นิธิสามารถที่จะนำเสนอข้อมูลรายละเอียด
เกี่ยวกับโลกทรรศน์และวิถีชีวิตคนไทยในประวัติศาสตร์ช่วงต่างๆ และนำมาตี
ความสนับสนุนสมมุติฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมทางการเมือง
กับปรากฏการณ์ทางการเมืองได้อย่างน่าเชื่อถือ อีกทั้งยังลงไปในระดับของ
วัฒนธรรมทางการเมืองและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้านด้วย ซึ่งยากที่จะพบใน
งานของนักรัฐศาสตร์ทั่วไป และเมื่อเปรียบเทียบกับงานวิจัยในลักษณะเดียวกัน
ระหว่างงานของนิธิกับงานของนักรัฐศาสตร์แล้ว งานของนักรัฐศาสตร์จึงดูอ่อนด้อย
ตื้นเขินและมักง่ายไปอย่างเห็นได้ชัด เพราะอย่างที่เกษียรได้วิจารณ์ไว้ว่า
นักรัฐศาสตร์มักจะศึกษา “ด้วยวิธีแบบสูตรสำเร็จดังกล่าว รัฐศาสตร์ตะวันตก
ก็สามารถเที่ยวตระเวนศึกษาวิจัยวัฒนธรรมการเมืองไปสองร้อยประเทศทั่วโลก
อย่างง่ายดายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก โดยไม่ต้องรู้จักภาษาหรือวัฒนธรรมหรือ
ประวัติศาสตร์ของชาติต่างๆ เหล่านั้นเลย” ทั้งนี้ มิพักต้องกล่าวถึงนักรัฐศาสตร์
ต่างชาติที่ไม่รู้จักภาษา-วัฒนธรรมหรือประวัติศาสตร์ของชาตินั้น แม้แต่
นักรัฐศาสตร์ไทยเองก็ดูเหมือนจะมีความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมและ
ประวัติศาสตร์ไทยไม่เพียงพอ เมื่อเทียบกับนักประวัติศาสตร์อย่างนิธิ
และด้วยเหตุนี้ ต่อไป ผมจะขอหยิบยกตัวอย่างคำอธิบายเกี่ยวกับ
“วัฒนธรรมทางการเมืองไทย” ที่ ศาสตราจารย์ ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้ทำการ
ศึกษาไว้
ตัวอย่างคำอธิบายเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางการเมืองไทยของ นิธิ เอียวศรีวงศ์
ต่อไปผู้เขียนจะได้กล่าวถึงนักวิชาการไทยที่ผู้เขียนเห็นว่าเป็นนักวิชาการ
ที่ผลิตผลงานที่มีคุณภาพและมีมุมมองที่น่าสนใจอย่างยิ่งต่อประเด็น “วัฒนธรรม
การประชุมกลุมยอยที่ 2