Page 322 - kpi17968
P. 322

311




                   คือ การมีชีวิตอยู่รอดและมีชีวิตที่ดี บางแห่งอาจเรียกคนเช่นนั้นว่า ผู้ใหญ่บ้าน

                   เจ้าเมืองหรือ พระเจ้าแผ่นดิน ฯลฯ ซึ่งจะลงโทษคนลักขโมย คนที่ละเมิดสิทธิ์
                   ของผู้อื่น หรือละเมิดต่อธรรมชาติจนเป็นอันตรายต่อเป้าหมายของชีวิต (เช่น
                   กฎหมายทางเหนือลงโทษคนถมบ่อน้ำ กฎหมายภาคกลางลงโทษคนทำเฝือก

                                   49
                   กั้นทางน้ำ ฯลฯ)”
                         ในแง่นี้ จึงกล่าวได้ว่า สำหรับ นิธิ นั้น ความหมายที่เป็นแก่นแท้ของ

                   การเมืองก็คือ การจัดสรรแบ่งปันทรัพยากร เป็นกลไกที่ขาดไม่ได้ในทุกกลุ่มคน
                   นับตั้งแต่สมัยหินและนับตั้งแต่ครอบครัว ชมรม กลุ่มมิตรสหาย ฯลฯ เมื่อใด
                   ก็ตามที่มนุษย์ไม่ได้อยู่คนเดียว เมื่อนั้นก็มีความจำเป็นที่กลุ่มคนเกิน 1 คน

                   ต้องสร้างกลไกที่สลับซับซ้อนสำหรับการจัดสรรและแบ่งปันทรัพยากร ใครจะ
                   ได้กิน กินอะไร กินเมื่อไร กินในเงื่อนไขอะไร หรือใครจะได้ใช้ที่ดิน ใช้ที่ดิน
                   ส่วนไหน ใช้เมื่อไร และใช้ในเงื่อนไขอะไร
                                                        50

                         และเมื่อรวมความทั้งหมดที่กล่าวมานี้ นิธิ จึงสรุปว่า “ระบบความสัมพันธ์
                   ของคนกับคน และคนกับธรรมชาติ”  ที่มุ่งบรรลุเป้าหมายของการมีชีวิตรอด
                                                    51
                   และมีชีวิตที่ดีของมนุษย์ ก็คือวัฒนธรรมนั่นเอง และมนุษย์ก็ไม่ได้สร้าง
                   ‘วัฒนธรรม’ หรือระบบความสัมพันธ์ดังกล่าวขึ้นใหม่ทุกชั่วอายุคน แต่มักจะ
                   รับตกทอดกันมาจากอดีต “ทั้งนี้เพราะเป็นไปไม่ได้ด้วยซ้ำที่คนทุกชั่วอายุจะ

                   สร้างระบบความสัมพันธ์ (วัฒนธรรม – ผู้วิจัย) ขึ้นใหม่เอง เพราะระบบความ
                   สัมพันธ์หรือวัฒนธรรมมีความซับซ้อนมาก ดังที่ได้กล่าวแล้ว ต้องอาศัยการ
                   ถ่ายทอดปลูกฝังกันเป็นเวลานานมาก (เมื่อเทียบกับสัตว์) กว่าจะสามารถ

                   ดำเนินชีวิตในระบบความสัมพันธ์หนึ่งได้อย่างดี ไม่พักต้องพูดถึงว่าจะสร้างขึ้น



                      49   เพิ่งอ้าง, หน้า 5.
                      50   นิธิ เอียวศรีวงศ์, “วัฒนธรรมทางการเมืองของคนชั้นกลางไทย” (คัดและตัดตอนจาก
                   ปาฐกถาเรื่องวัฒนธรรมทางการเมืองไทย แสดงที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ จัดโดยสถาบัน
                   พระปกเกล้า เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ตีพิมพ์ในหนังสือรวมบทความ รากหญ้า
                   สร้างบ้านคนชั้นกลางสร้างเมือง ทางออกของ “ภาคประชาชน” ในการแสดงจุดร่วมบนเวที
                   การเมืองยุคใหม่ (กรุงเทพฯ: มติชน: 2552) หน้า 97.
                      51   “วัฒนธรรมคือระบบความสัมพันธ์” อ้างแล้ว, หน้า 6.





                                                                     การประชุมกลุมยอยที่ 2
   317   318   319   320   321   322   323   324   325   326   327