Page 326 - kpi17968
P. 326
315
นิธิกล่าวยกตัวอย่างให้เข้าใจถึงสาเหตุที่รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร
บางฉบับถึงสามารถทนทานอยู่ได้นาน โดยเชื่อมโยงถึงอิทธิพลของรัฐธรรมนูญ
ฉบับวัฒนธรรมที่อยู่เหนือรัฐธรรมนูญฉบับลายลักษณ์อักษร โดยเขากล่าวว่า
“ในบางสังคม รัฐธรรมนูญที่มีการร่างขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรมีข้อความที่ค่อน
ข้างจะสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม รัฐธรรมนูญฉบับร่างจึงดำรงคง
อยู่อย่างค่อนข้างถาวร” และแม้ว่าในบาง “ประเทศที่รัฐธรรมนูญฉบับลาย
61
ลักษณ์อักษรไม่มีปัญหาเพราะสอดคล้องกับวัฒนธรรมการเมืองการปกครองของ
รัฐเหล่านั้น ก็ยังต้องอาศัยประเพณีซึ่งไม่เป็นลายลักษณ์อักษรอีกมาก ดังเช่น
ประเพณีว่าประธานาธิบดีสหรัฐจะไม่ดำรงตำแหน่งเกินสองสมัยก็หาได้มีการ
กำหนดไว้ที่ไหนในรัฐธรรมนูญสหรัฐไม่ แต่ถือปฏิบัติกันมาจนเป็นประเพณี
ทางการเมืองที่ไม่ค่อยจะละเมิดกัน จึงนับว่าศักดิ์สิทธิ์ไม่น้อยไปกว่าข้อกำหนด
62
อื่นๆ ในรัฐธรรมนูญฉบับลายลักษณ์อักษร”
ส่วนในกรณีของบางสังคมที่รัฐธรรมนูญมีอายุขัยสั้นนั้น ย่อมหมาย
ความว่า รัฐธรรมนูญฉบับลายลักษณ์อักษรที่ถูกเขียนขึ้นและถูกนำมาใช้นั้น
ไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมทางการเมืองของสังคมนั้นนั่นเอง ซึ่ง นิธิ น่าจะ
หมายรวมถึงกรณีของสังคมไทยเราด้วยที่มีการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญกันถึงสิบแปด
ฉบับ ด้วยยามใดที่ “กองทัพยกออกมาฉีกรัฐธรรมนูญกันตามใจชอบ
ประชาชนส่วนใหญ่ก็เฉยไม่รู้สึกเดือดเนื้อร้อนใจแต่อย่างไร ทั้งนี้เพราะ
ประชาชนรู้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมซึ่งไม่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรนั้น
กองทัพล่วงละเมิดไม่ได้ มีบางครั้งเหมือนกันที่ผู้นำกองทัพคึกคะนองไป
ล่วงละเมิดรัฐธรรมนูญฉบับนี้เข้า ผลก็คือเกิดความไม่พอใจในหมู่ประชาชน
อย่างกว้างขวาง บั่นทอนอำนาจของผู้นำเสียจนไม่สามารถดำรงรักษาอำนาจ
ของตัวไว้ได้” 63
61 เพิ่งอ้าง, หน้าเดียวกัน.
62 เพิ่งอ้าง, หน้าเดียวกัน.
63 เพิ่งอ้าง, หน้า 127-128.
การประชุมกลุมยอยที่ 2