Page 330 - kpi17968
P. 330
319
การจัดการที่มีประสิทธิภาพมีอยู่อย่างเดียว คือการใช้อำนาจเด็ดขาด” ดังนั้น
74
นักการเมืองหรือผู้นำทางการเมืองคนใดก็ตามในระบอบประชาธิปไตยก็สามารถ
75
กลายเป็น “วีรบุรุษทางวัฒนธรรมของไทยปัจจุบัน” ได้ หากมีภาพลักษณ์ของ
ความสามารถในการใช้อำนาจเด็ดขาดในการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ คุณสมัคร สุนทรเวช และก็น่ารวมถึงกรณีของ
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรด้วย
76
อย่างไรก็ตาม สำหรับคุณสมบัติของผู้นำทางการเมืองของไทยหรือ
ประมุขศิลป์ นั้น นิธิไม่ได้ปฏิเสธว่า “สังคมไทยคงจำเป็นต้องมีประมุขศิลป์แบบที่
เด็ดขาดและไม่เหลาะแหละ” แต่สังคมไทยยังขาดวัฒนธรรมทางการเมืองใน
77
การตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจเด็ดขาดของผู้นำ นิธิ อธิบายสาเหตุที่
สังคมไทยปัจจุบันขาดวัฒนธรรมในการตรวจสอบถ่วงดุลผู้นำว่า เป็นเพราะ
ในวัฒนธรรมทางการเมืองไทย ประมุขศิลป์แบบไทยคือ “คุณสมบัติของผู้นำคือ
ความเมตตา ไม่ใช่ความเด็ดขาด...ความนุ่มนวลและความไม่เด็ดขาดของผู้นำที่ดี
ของไทย...เกิดขึ้นในวัฒนธรรมและสังคมซึ่งไม่มีเครื่องมือของอำนาจในเชิง
กายภาพ เช่น ไม่มีกองทัพประจำการ ไม่มีระบบราชการที่เป็นเอกภาพ ไม่มีการ
คมนาคมสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ มีประชากรเบาบางต่อพื้นที่” ดังนั้น เครื่องมือ
78
แห่งอำนาจของผู้นำในสังคมไทยจึงเป็น “เครื่องมือทางวัฒนธรรม” โดย “สร้าง
79
การยอมรับและความจงรักภักดีที่จิตใจไม่ได้ใช้อำนาจไปกดขี่บังคับ ไม่อย่างนั้น
คนก็หนีเข้าป่า หรือหนีไปหานายใหม่ หนีไปบวช หนีไปเป็นทาส หรือแค่หลบ
80
หน้าหายไปเฉยๆ ก็ไม่รู้จะไปตามที่ไหนแล้ว”
74 นิธิ เอียวศรีวงศ์, “วัฒนธรรมคนอย่างทักษิณ” อ้างแล้ว, หน้า 15 และดู บทสัมภาษณ์
ในปี พ.ศ. 2550 นิธิ เอียวศรีวงศ์, ผมไม่มีวันเห็นว่าการรัฐประหารใดๆชอบธรรมเป็นอันขาด”
อ้างแล้ว, หน้า 9: “อำนาจนิยม....แปลว่า เชื่อว่าอำนาจคือเครื่องมือการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด”
75 อ่านวัฒนธรรมทางการเมืองไทย, อ้างแล้ว, หน้า 14.
76 หรือจะรวมถึง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ด้วย ?
77 เพิ่งอ้าง, หน้า 29.
78 เพิ่งอ้าง, หน้า 27, 28.
79 เพิ่งอ้าง, หน้า 28.
80 เพิ่งอ้าง, หน้าเดียวกัน.
การประชุมกลุมยอยที่ 2