Page 332 - kpi17968
P. 332
321
เชื่อถือที่สุด” ซึ่งในส่วนนี้จึงกล่าวได้ว่า วัฒนธรรมอำนาจนิยม-สัมฤทธิ์ผลนิยม
85
ในสังคมไทยทำให้วัฒนธรรมทางการเมืองไทยเป็นวัฒนธรรมที่ไม่มีมิติของการ
ตรวจสอบควบคุมให้เกิดความยุติธรรมในสังคมได้ และยังให้ความสำคัญกับคติ
“ความสงบเรียบร้อย” อันเป็นมรดกตกทอดจากสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์
เป็นที่ตั้ง และที่สำคัญ อีกด้านหนึ่งยังสะท้อนวัฒนธรรมแบบอำนาจนิยมอย่าง
ชัดเจนด้วย ซึ่งจะได้กล่าวในส่วนต่อไป
หากเรานำเอา “ญาณวิทยาของคนไทย” แนว “อำนาจ/ความรู้” ของ นิธิ------
ที่เชื่อในความรู้ความจริงที่ไม่เปลี่ยนแปลง แต่คนที่จะเข้าถึงความรู้ความจริงนั้นได้
ก็จำกัดอยู่แต่เฉพาะคนที่มีสถานะทางสังคมและการเมืองสูงเท่านั้น-----ดังที่กล่าว
ไปข้างต้น มาเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมอำนาจ/สัมฤทธิผลนิยมข้างต้นที่เพิ่งอธิบายไป
86
ผลที่ตามมาก็คือสิ่งที่ นิธิ เรียกว่า “วัฒนธรรมรวมศูนย์” ซึ่งเขาได้ให้ความ
หมายต่อวัฒนธรรมรวมศูนย์ว่า “เป็นชุดความคิดที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้คนทั่วไป
ยอมรับเหมือนเป็นเหตุผลที่ประจักษ์ชัดในตัวของมันเองโดยไม่ต้องพิสูจน์และเมื่อ
คนทั่วไปยอมรับสนิทแนบแน่นอย่างนี้แล้ว คนที่มีอำนาจในรัฐแบบใหม่ สองอย่างนี้
87
ก็สามารถควบคุมอำนาจของตัวได้สบายๆ” อีกทั้งยังเป็น “วิธีคิดที่ทำให้เห็นว่า
หากทำอะไรแล้วร่วมกันทำมากๆ ทำใหญ่ๆ ใช้ได้ทั่วไปหมดทั้งรัฐมาตรฐาน
อันเดียวกันทั่วไปหมด จะทำให้ได้กำไรหรือต้นทุนถูก หรือมีประสิทธิภาพ หรือ
เพิ่มอำนาจต่อรองให้แก่ทุกคนหรือดีในตัวของมันเอง” ซึ่งวัฒนธรรมประเภทนี้
88
นิธิ เห็นว่าเกิดขึ้นภายใต้รัฐสมัยใหม่ ดังที่เขากล่าวว่า “คนในสมัยโบราณก่อน
หน้าที่จะมีรัฐสมบูรณาญาสิทธิ์และรัฐชาติไม่ได้คิดอย่างนี้ แต่คิดว่า ความแตกต่าง
ในแต่ละชุมชนหรือ แต่ละหน่วยสังคมเล็กๆ เป็นธรรมชาติที่ควรต้องยอมรับ ฝรั่ง
จึงบอกว่า เข้าเมืองโรมก็ประพฤติเหมือนชาวโรมัน คนไทยบอกว่า เข้าเมือง
89
ตาหลิ่วก็ต้องหลิ่วตาตาม” นั่นคือ วัฒนธรรมรวมศูนย์นี้ “เป็นผลผลิตทาง
85 เพิ่งอ้าง, หน้า 162.
86 เพิ่งอ้าง, หน้า 147.
87 เพิ่งอ้าง, หน้าเดียวกัน.
88 เพิ่งอ้าง, หน้าเดียวกัน.
89 เพิ่งอ้าง, หน้าเดียวกัน.
การประชุมกลุมยอยที่ 2