Page 328 - kpi17968
P. 328

317




                   สิทธิเสรีภาพ อันใดให้เราใช้ และไม่สนใจที่จะศึกษาหาความรู้ในทางนี้....

                   สภาพจิตใจของคนไทย...ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นมาดังกล่าว
                   แล้ว....ประชาชนจะโทษประชาธิปไตยไม่ได้  เมื่อประชาชนไม่เอาใจใส่ช่วยกัน
                   ทำให้มันเป็นประชาธิปไตยขึ้นจริงๆ ในทางหลักวิชาจึงกล่าวกันว่าจิตใจของ

                   ประชาชนในระบอบประชาธิปไตยมีอยู่แค่ไหน ประชาธิปไตยก็แค่นั้น....กล่าวโดย
                   สรุปก็คือจิตใจของคนไทยในระบอบประชาธิปไตยที่ผ่านมาแล้ว....หาได้มีการ
                                                                             66
                   ปฏิวัติให้เป็นจิตใจของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยด้วยไม่....”  และจากที่
                   กล่าวถึงมุมมองของ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมชและเสน่ห์ จามริก จะเห็นได้ว่า
                   คำอธิบายปัญหาวิกฤตการเมืองไทยในปัจจุบันของนิธิไม่แตกต่างไปจากที่เคยมี
                   ผู้กล่าวไว้ก่อนหน้า


                         แต่อย่างไรก็ตาม ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางการเมืองไทย
                   นิธิ มีมุมมองและการวิเคราะห์ที่ลงลึกน่าสนใจ โดยเขาเห็นว่า วัฒนธรรมทาง

                   การเมืองไทยเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองที่ปราศจากซึ่งหลักการที่มีเหตุผล
                   สอดคล้องแน่นอนและก็เป็นวัฒนธรรมที่สลับซับซ้อน  ขณะเดียวกัน นอกจาก
                                                                  67
                   การขาดหลักการเหตุผลที่สอดคล้องกันแล้ว วัฒนธรรมทางการเมืองไทยของผู้ใต้

                   ปกครองดั้งเดิม ก็เป็นวัฒนธรรมที่ไม่สามารถต่อต้านอำนาจได้อย่างตรงไปตรงมา
                   โดย นิธิ อธิบายว่า “....ในเชิงจิตวิทยานั้น กล่าวได้ว่า วัฒนธรรมทางการเมือง
                   ของผู้ใต้ปกครองในสังคมไทย ดำรงอยู่ด้วยความกลัวและขลาด ไม่สามารถต่อสู้

                   หรือเรียกหาความชอบธรรมอย่างตรงไปตรงมาได้ อาจจะเป็นเพราะไม่มีฐาน
                   อำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจที่เพียงพอในการต่อรอง จึงต้องหันไปต่อต้าน



                      66   “แมลงหวี่”: “เบื้องหลังประวัติศาสตร์” ประชาธิปไตย ประจำวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.
                   2490 อ้างใน เสน่ห์ จามริก, การเมืองไทยกับพัฒนาการรัฐธรรมนูญ, เพิ่งอ้าง, หน้า 30-31.
                      67   นิธิ เอียวศรีวงศ์, อ่านวัฒนธรรมทางการเมืองไทย, คำนำเสนอโดย เกษียร เตชะพีระ,
                   มุกหอม วงศ์เทศ บรรณาธิการ, ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ, (กรุงเทพฯ: มติชน: ตุลาคม
                   2547), หน้า 18-20: เช่น “นักข่าวรักคุณชวน หลีกภัย เพราะชอบการพูดนุ่มนวลอย่างผู้หญิง
                   ขณะเดียวกันก็สามารถที่จะไม่ถือสา พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ซึ่งมีสีสันในเรื่องการเมือง
                   การมุ้ง การเมีย การมั่ว การเมา ฯลฯ อันเปรียบเทียบได้คล้ายบุคลิกของหนุมาน ในขณะที่
                   คุณชวนเหมือนพระราม แต่ก็กลับไม่ชอบคุณบรรหาร ศิลปะอาชา ซึ่งไม่ได้มีบุคลิกภาพโดดเด่น
                   ในเรื่องใดเมื่อเปรียบเทียบกับผู้นำทางการเมืองที่กล่าวไป”





                                                                     การประชุมกลุมยอยที่ 2
   323   324   325   326   327   328   329   330   331   332   333