Page 324 - kpi17968
P. 324
313
แห่งอำนาจของตนมาเป็นเวลานานจนทำให้เกิดการยอมรับกันในระดับ
หนึ่ง กลายเป็นประเพณีทางการปกครองและการเมืองขึ้น” 55
ในความเข้าใจของ นิธิ ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่การออกแบบร่างกฎหมาย
และรัฐธรรมนูญเท่ากับจารีตประเพณีทางการปกครองและการเมืองที่ดำรงอยู่
ในสังคมหนึ่งๆ ที่ส่งอิทธิพลให้ “วิถีชีวิต วิถีความคิด และค่านิยมของสังคม
56
นั้นๆ เคยชินที่จะมองเห็นว่าอำนาจที่ชอบธรรมนั้นต้องสัมพันธ์กันอย่างนั้นๆ”
ซึ่งจริงๆ แล้ว นิธิสรุปว่า “นั่นก็คือ วัฒนธรรมทางการเมือง” นั่นเอง
57
หากเชื่อมโยง “วัฒนธรรมทางการเมือง” กับความเข้าใจเกี่ยวกับ
“วัฒนธรรม” และ “สถาบันทางการเมือง” ของ นิธิ ข้างต้น เราน่าจะได้ความ
หมายของ “วัฒนธรรมทางการเมือง” ที่แม้ว่านิธิจะไม่ได้กล่าวไว้ แต่ตามระบบ
ตรรกะและเหตุผลของการให้ความหมายของเขา “วัฒนธรรมทางการเมือง” น่าจะ
หมายถึง “ระบบความสัมพันธ์เชิงอำนาจของคนกับคน และคนกับธรรมชาติที่มุ่ง
บรรลุเป้าหมายของการมีชีวิตรอดและมีชีวิตที่ดีของมนุษย์” และจากการที่เขา
กล่าวไว้ในข้อความข้างต้นที่ว่า “ข้อกำหนดของความสัมพันธ์เชิงอำนาจในสังคม
หนึ่งๆ นั้น....เกิดขึ้นจากการที่บุคคลและสถาบันต่างๆ ในสังคมนั้น ได้ต่อสู้ช่วงชิง
และรักษาสถานะแห่งอำนาจของตน” ก็น่าจะหมายความว่า การต่อสู้ช่วงชิงและ
รักษาสถานะแห่งอำนาจของบุคคลและสถาบันต่างๆ ในสังคมนั้นมิได้เป็นเพียง
การต่อสู้ช่วงชิงและรักษา “สถานะแห่งอำนาจ” ในตัวของมันเองเท่านั้น แต่
เพื่อเป้าหมายของการมีชีวิตรอดและมีชีวิตที่ดีของมนุษย์ตามความคิดความ
เข้าใจของกลุ่มบุคคลและสถาบันต่างๆ นั่นเอง
และจากการเชื่อมโยงดังที่เพิ่งกล่าวไปข้างต้นนี้จึงสอดคล้องกับสิ่งที่ นิธิ
กล่าวเกี่ยวกับพลวัตรของวัฒนธรรมทางการเมืองว่า “วัฒนธรรมทางการเมืองของ
ทุกสังคมไม่ใช่สิ่งที่หยุดนิ่งแล้วเพราะการต่อสู้ช่วงชิงและรักษาสถานะแห่งอำนาจ
ของสถาบันและบุคคลในทุกสังคมไม่ได้หยุดนิ่ง ยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ ตาม
55 เพิ่งอ้าง, หน้าเดียวกัน.
56 เพิ่งอ้าง, หน้าเดียวกัน.
57 เพิ่งอ้าง, หน้าเดียวกัน.
การประชุมกลุมยอยที่ 2