Page 329 - kpi17968
P. 329
318
อำนาจผ่านทางภาษาหรือปฏิภาณในเชิงภาษา” ซึ่งนิธิกล่าวว่า “เป็นความ
68
69
สามารถที่พบได้เสมอในวรรณคดีไทย ตลกไทย และเพลงพื้นบ้านไทย” ถือ
เป็นการ “ต่อต้านอำนาจด้วยความสามารถที่ทุกคนมี” และแม้แต่ในสังคมไทย
“ทุกวันนี้ เราก็ยังต่อต้านอำนาจที่เราเห็นว่าขาดความชอบธรรมด้วยวิธีเดิม คือ
ตั้งสมญาบ้างและจะหาใครในโลกที่ถนัดในการให้สมญายิ่งไปกว่าคนไทยได้ยาก
ใช้คำผวนบ้าง และใช้โวหารบ้าง” 70
และเมื่อเชื่อมโยงวัฒนธรรมของผู้ใต้ปกครองดังกล่าวกับการเป็นวัฒนธรรม
ที่ขาดหลักการเหตุผลที่แน่นอนสอดคล้อง ผลที่ตามมาก็คือ วัฒนธรรมสัมฤทธิผล
นิยมแบบไทย นั่นคือ หากนักการเมืองคนใด ในปัจจุบันที่สามารถสร้างภาพ
ลักษณ์ที่ทำให้ผู้ใต้ปกครองไทยรู้สึกถึง “ความสามารถในการดูแลตัวเองได้ ซึ่ง
ฝรั่งและผู้นำไทยคอยย้ำให้คนไทยรู้สึกเสมอว่า คนไทยดูแลตัวไม่ได้” รวมทั้ง
71
หากการสร้างความรู้สึกของ “ความเป็นชาตินิยม” และ “การไม่สนใจวิธีการที่ใช้
ในการบรรลุเป้าหมาย” หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การไม่มีหลักการที่แน่นอน
72
สอดคล้องชัดเจน ซึ่ง นิธิ เห็นว่า การมุ่งสู่ผลโดยไม่คำนึงถึงความถูกผิดของ
หนทางนี้เป็นคติไทยที่เน้นในเรื่องสัมฤทธิผลอยู่แล้ว นักการเมืองหรือ
73
ผู้ปกครองผู้นั้นก็จะกลายเป็นผู้ที่ได้รับความนิยมจากผู้คนในสังคมได้
และแน่นอนว่า ในส่วนหนึ่ง คติดังกล่าวนี้ย่อมนำไปสู่วัฒนธรรมแบบ
อำนาจนิยม เพราะในความเข้าใจของนิธิ “อำนาจนิยมไม่ได้หมายความถึง
ระบอบเผด็จการเพียงอย่างเดียว แม้ในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในชีวิตปกติ
ก็อาจมีลักษณะเป็นอำนาจนิยมได้ เพราะอำนาจนิยมหมายถึงความเชื่อว่า
68 เพิ่งอ้าง, หน้า 18-20.
69 เพิ่งอ้าง, หน้าเดียวกัน.
70 เพิ่งอ้าง, หน้า 4.
71 เพิ่งอ้าง, หน้า 12.
72 เพิ่งอ้าง, หน้า 13.
73 เพิ่งอ้าง, หน้า 14.
การประชุมกลุมยอยที่ 2