Page 334 - kpi17968
P. 334
323
จากการศึกษาเรื่องวัฒนธรรมทางการเมืองไทยของนิธิข้างต้น ทำให้เกิดข้อ
สังเกตที่เป็นคำถามได้ว่า
วัฒนธรรมทางการเมืองไทยที่ดำรงอยู่ขณะนี้ไม่เอื้อให้เกิดทั้งการปกครอง
แบบประชาธิปไตยและรวมทั้งหลักนิติธรรมในสังคมไทย?
และถ้าเชื่อมโยงกับงานวิจัยของ Bergman ที่มีคำถามเกิดขึ้นว่า
ตกลงแล้ว ในการพัฒนาวัฒนธรรมการเคารพกฎหมาย (วัฒนธรรม
นิติธรรม/ผู้เขียน) ประชาธิปไตย (เน้นโดยผู้เขียน) เป็นตัวแปรอิสระสำคัญหรือไม่?
เพราะในกรณีของของอาเจนตินา การกลับมาของรัฐบาลเลือกตั้งที่เป็น
ประชาธิปไตยหลัง ค.ศ. 1983 กลับไม่ได้เอื้อให้เกิดวัฒนธรรมการเคารพ
กฎหมาย โดยเฉพาะในกรณีของการจ่ายภาษี ซึ่งตรงกันข้ามกับในกรณีของชิลี
ที่ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการของนายพล ปิโนเช่ (1973-1990) ชิลีมีการ
จ่ายภาษีต่ำกว่ารัฐบาลประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นตามมา ซึ่งน่าจะเป็นเพราะรัฐบาล
เผด็จการทำลายความร่วมมือในระดับแนวนอน ซึ่งเป็นหน่วยสำคัญในตัวแบบที่
ขับเคลื่อนโดยวัฒนธรรมของ Bergman และในระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลจะมี
เครื่องไม้เครื่องมือที่จำเป็น (บรรทัดฐาน วัฒนธรรม แนวโน้มความคาดหวัง)
มากกว่าในการจัดเก็บภาษี เพราะประชาธิปไตยส่งเสริมหลักนิติธรรม ส่งเสริมให้
ประชาชนรู้คุณค่าในการปกป้องสิทธิ์ของพวกเขา ด้วยเหตุนี้ ประชาชนจึงสมัครใจ
ที่จะยอมเสียภาษีภายใต้ระบอบประชาธิปไตยมากกว่าเผด็จการ เพราะการจ่าย
ภาษีในส่วนของเขาจะนำมาซึ่งความเป็นธรรมมากขึ้นภายใต้ระบบนิติธรรมและ
สัญญาประชาคมที่เชื่อมผูกประชาชนกับรัฐบาลที่ประชาชนจัดตั้งขึ้นมา
หรือจะเป็นว่า
หลักนิติธรรม-วัฒนธรรมการเคารพกฎหมายโดยเฉพาะการจ่ายภาษีอาจไม่ได้
ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมประชาธิปไตยเท่ากับการมีรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพ (เน้นโดย
ผู้เขียน) ในการตอบสนองความต้องการของประชาชนและพัฒนาสวัสดิการสังคม
ได้อย่างคุ้มค่ากับเงินภาษีที่ประชาชนจ่ายไป นั่นคือ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอิทธิพล
การประชุมกลุมยอยที่ 2