Page 338 - kpi17968
P. 338
327
จากข้อความข้างต้น ผมมีข้อสังเกตดังต่อไปนี้ เริ่มจากข้อความที่ว่า “ส่วน
ในประเทศไทยนั้น มีแนวความคิดว่าหลักนิติธรรมเป็นกฎเกณฑ์แห่งการใช้
กฎหมายซึ่งเป็นหลักที่อยู่เหนือกฎหมายอีกชั้นหนึ่ง โดยหลักนิติธรรมจะเป็นสิ่งที่
กำหนดระเบียบแบบแผนแห่งกฎหมายเพื่อป้องกันการตรากฎหมายมาใช้บังคับ
ตามอำเภอใจโดยปราศจากกฎเกณฑ์ที่เป็นธรรม และเป็นแนวความคิดที่ได้รับ
การพัฒนาจากประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายจารีตประเพณี
(Common Law) หรือระบบกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร)” ผมว่า สำหรับ
ประเทศไทย การกล่าวอ้างว่า ประเทศเรา “มีแนวความคิดว่าหลักนิติธรรม
เป็นกฎเกณฑ์แห่งการใช้กฎหมายซึ่งเป็นหลักที่อยู่เหนือกฎหมายอีกชั้นหนึ่ง”
นั้น แม้ว่าจะเป็นเรื่องดีสูงส่ง แต่ปัญหาพื้นฐานสำคัญของบ้านเราคือ
ทำอย่างไรถึงจะทำให้สังคมไทยมีหลักนิติธรรมในแบบแรกให้ได้เสียก่อน
นั่นคือ “บุคคลทุกคนและองค์กรทุกองค์กรในรัฐไม่ว่า จะเป็นองค์กรภาครัฐ
หรือภาคเอกชน จะต้องอยู่ใต้กฎหมายของรัฐ และเป็นกฎหมายที่ถูกบังคับใช้
โดยศาล” เพราะปัญหาพื้นฐานของบ้านเราคือ คนทั่วไปทุกระดับชั้นฐานะและ
การศึกษาไม่เคารพกฎหมาย เพราะถ้าจะว่าไปแล้ว กฎหมายเลวที่บังคับใช้ได้
ย่อมมีสถานะของการเป็นกฎหมายมากกว่ากฎหมายดีสูงส่งที่ไม่สามารถบังคับ
ใช้ได้
ประเด็นต่อมาคือ ในส่วนแรกคือ ส่วนของนัยและความหมาย ความหมาย
ของนิติธรรมมีสองระดับ ระดับแรกคือหลักการที่บุคคลทุกคนและทุกภาคส่วนของ
สังคมจะต้องอยู่ภายใต้กติกากฎหมาย ระดับที่สองคือ หลักการในการออก
กฎหมายให้เป็นธรรม นัยทั้งสองนี้มีความสัมพันธ์กันในสองลักษณะ
ลักษณะแรกคือ คนต้องเริ่มรู้จักและยึดถือนิติธรรมในระดับแรกก่อน
นั่นคือ ต้องรู้จักเคารพกฎหมายก่อนแล้วถึงจะพัฒนาไปสู่นิติธรรมในระดับที่สอง
นั่นคือ พิจารณาหาหลักการป้องกันไม่ให้มีการออกกฎหมายตามอำเภอใจและ
หาหลักการการออกกฎหมายที่เป็นธรรม
ลักษณะที่สองคือ คนจะไม่สามารถยึดถือนิติธรรมในระดับแรกได้เลย หาก
กฎหมายนั้นเป็นกฎหมายที่ออกตามอำเภอใจและเป็นกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม
การประชุมกลุมยอยที่ 2