Page 335 - kpi17968
P. 335
324
วัฒนธรรมทางการเมืองเท่ากับความสมเหตุสมผลระหว่างการจ่ายภาษีของ
ประชาชนกับผลตอบแทนที่ประชาชนจะได้รับจากรัฐบาล
ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ ทฤษฎีการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผล (rational choice)
น่าจะอธิบายปรากฏการณ์ปัญหาการเคารพ-ไม่เคารพกฎหมาย-การเสียภาษีและ
รวมทั้งการเคารพ-ไม่เคารพกฎหมายโดยทั่วไปได้ดีกว่าการอิงกับกรอบแนวคิด
94
เรื่องวัฒนธรรมทางการเมือง
นอกจากนี้ ยังมีคำถามที่ชวนให้ศึกษาหาคำตอบต่อไปอีก นั่นคือ
วัฒนธรรมทางการเมืองที่เอื้อต่อประชาธิปไตย = วัฒนธรรมทางการเมือง
ที่เอื้อต่อหลักนิติธรรมหรือไม่? (นิติธรรมในความหมายขั้นพื้นฐาน นั่นคือ
ตามคำนิยามของ Justice Tom Bingham ซึ่งได้ให้ความหมายหลักนิติธรรม
ไว้ว่าหมายถึง “ ‘[หลักที่กำหนดให้] บุคคลทุกคนและองค์กรทุกองค์กรในรัฐ
ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือภาคเอกชน จะต้องอยู่ใต้กฎหมายของรัฐ และ
เป็นกฎหมายที่ถูกบังคับใช้โดยศาล’”
94 แม้ว่า ทฤษฎีการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผลจะยอมรับว่า การเลี่ยงหรือหนีภาษีโดยไม่ถูก
ลงโทษเป็นการกระทำหนึ่งที่เป็นเหตุเป็นผลของปัจเจกบุคคล เพราะทฤษฎีการเลือกอย่างเป็นเหตุ
เป็นผลมีสมมุติฐานว่า ปัจเจกบุคคลจะตัดสินใจเลือกวิธีการใดๆ ที่ทำให้เขาสามารถบรรลุ
ผลประโยชน์สูงสุดได้โดยลงทุนน้อยที่สุด แต่ทฤษฎีการเลือกอย่างเป็นเหตุผลก็สามารถชี้ให้เห็น
ได้ด้วยว่า ปัญหาสำคัญในสังคมที่ไม่เคารพกฎหมายถือเป็นอาการของการขาดการตัดสินใจ
ไตร่ตรองอย่างเป็นเหตุเป็นผลในการเลือกหนทางที่จะบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้เช่นกัน
เพราะทฤษฎีการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผลเชื่อว่ามนุษย์มีศักยภาพในความเป็นเหตุเป็นผลอย่าง
สมบูรณ์แบบ (perfect rationality) และความเป็นเหตุเป็นผลเชิงยุทธศาสตร์ (strategic
rationality) ซึ่งจะช่วยให้ปัจเจกบุคคลสามารถบรรลุผลประโยชน์ส่วนตัวสูงสุดโดยไม่ขัดต่อ
ผลประโยชน์ส่วนรวมผ่านการเคารพกฎหมายทั่วไป ขณะเดียวกัน ก็ชี้ให้เห็นปัญหาความเป็นเหตุ
เป็นผลที่ไม่สมบูรณ์ (imperfect rationality) และสภาวะความอ่อนแอของเจตจำนง (weakness
of will) ของมนุษย์อีกด้วย และในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ ทฤษฎีการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็น
ผลได้เสนอการแก้ไขปัญหานี้โดยการผูกมัดตัวเองไว้ล่วงหน้า (pre-commitment) ขณะเดียวกัน
ทฤษฎีการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผลให้ความสำคัญกับการใช้ความเป็นเหตุเป็นผลเหนือแนว
ความคิดเชิงจริยธรรมและวัฒนธรรม-จารีตประเพณี โดยเฉพาะในประเด็นปรัตถนิยมด้วย สนใจ
ดูเพิ่มเติม ไชยันต์ ไชยพร จอน เอลสเตอร์กับทฤษฎีการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผล
(กรุงเทพฯ: WAY of bOOK: 2557).
การประชุมกลุมยอยที่ 2