Page 313 - kpi17968
P. 313
302
อื่นก็จะจ่ายภาษีด้วยเช่นกัน สอง รัฐบาลจะต้องทำให้เห็นประโยชน์ที่จับต้องได้
จากภาษีที่เก็บไป และเมื่อไม่ครบสองเงื่อนไขนี้ ประชาชนก็มักจะเคลื่อนตัวเข้าไป
สู่การเลี่ยงภาษี (tax evasion) อย่างไรก็ตาม Manzetti เห็นว่า แม้ว่าการสร้าง
สมมุติฐานเงื่อนไขในการออกแบบวิจัยดังกล่าวของ Bergman จะไม่ใช่สิ่งแปลก
ใหม่อะไร แต่กระนั้น Manzetti ชี้ว่า มันแผ้วทางไปสู่ตัวแบบวิเคราะห์
(analytical model) ที่ Bergman ได้นำเสนอเพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้นว่า
ประชาชนปฏิบัติตามข้อผูกพันในการจ่ายภาษีหรือไม่ 32
นอกจากเทคนิคและการออกแบบวิจัยที่กล่าวไป Manzetti ยังชี้ให้เห็นใน
บทวิจารณ์ของเขาว่า Bergman ยังออกแบบการวิจัยโดยใช้แนวการศึกษาการ
เลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผล (rational choice) ที่อิงอยู่กับ สภาพสมดุลสองแบบที่
ตรงกันข้ามกัน (two dichotomous equilibria) นั่นคือ
สภาพสมดุลแบบแรก คือ สภาพสมดุลทางกฎหมาย (legal equilibria) ที่
มีสมมุติฐานว่า ประเทศที่ยึดมั่นในหลักนิติธรรม (ทั้งจากประชาชนและสถาบัน
ต่างๆ ของรัฐบาล) และการบังคับใช้กฎหมายภาษีมีประสิทธิภาพเพราะทรัพยากร
ถูกใช้ไปอย่างเต็มที่ในการลงโทษคนโกงภาษี อีกทั้งสังคมยังมีความรับผิดชอบ
สาธารณะในแบบแนวนอน (horizon accountability) นั่นคือ เป็นสังคมที่
ประชาชนผู้ยึดมั่นในกฎจะคอยตรวจสอบกันและกันและประณามผู้ละเมิด
กฎหมายภาษี ทำให้มีความเป็นไปได้ที่ผลการแพร่ระบาดของผู้ละเมิดกฎหมาย
ภาษีต่อประชาชนคนอื่นๆ จะอยู่ในวงที่จำกัดอย่างยิ่ง ทำให้การโกงภาษีถือเป็น
กรณี ไม่ปรกติ และเมื่อมีการละเมิดเกิดขึ้น ก็สามารถชี้ตัวได้อย่างรวดเร็วและ
ลงโทษได้อย่างฉับพลัน เพราะคนเลี่ยงภาษีมีจำนวนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับ
คนส่วนใหญ่ที่เคารพกฎหมาย และถ้าคนละเมิดมีจำนวนมาก ก็จะมีปัญหายุ่งยาก 33
สภาพสมดุลแบบที่สอง ซึ่งตรงกันข้ามกับแบบแรก คือ สภาพสมดุลของ
การไม่ทำตามกฎหมาย (noncompliance equilibria) สภาพสมดุลที่ว่านี้คือ
32 Latin American Politics and Society, Vol. 53, No. 1 (Spring 2011), (Center
for Latin American Studies at the University of Miami, University of Miami), p. 186.
33 Latin American Politics and Society, Vol. 53, No. 1 (Spring 2011), (Center
for Latin American Studies at the University of Miami, University of Miami), p. 186.
การประชุมกลุมยอยที่ 2