Page 261 - kpi17968
P. 261
250
ได้รับการสืบทอดหรือผลิตซ้ำอย่างเข้มข้นโดยกลุ่มคนที่ได้อำนาจและผลประโยชน์
37
จากระบบคุณค่าเหล่านั้น ในขณะที่เกิดค่านิยมใหม่และมุมมองใหม่ต่อเรื่องต่างๆ
จากความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัตน์
สังคมไทยในปัจจุบันจึงไม่เพียงแต่จะประกอบขึ้นด้วยกลุ่มคนสองฝ่ายที่
“มองต่างมุม” กันเท่านั้น แต่ยังมีคนจำนวนมากที่ยังไม่สามารถจะสลัดตัดทิ้ง
ระบบคุณค่าเดิมที่ตกทอดมาจากอดีตแต่ก็รับเอาระบบคุณค่าใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมา
ในสังคมทุนนิยม-โลกาภิวัตน์เข้ามาในชีวิต ทำให้คนจำนวนไม่น้อยให้ความ
หมายในเรื่องต่างๆ ไปในวิถีทางที่ตนได้รับผลประโยชน์เฉพาะหน้า หรือให้ความ
หมายจากข้อมูลข่าวสารที่ได้รับมาจากสื่อประเภทต่างๆ โดยขาดการวิพากษ์
วิจารณ์ข้อมูลข่าวสารอย่างเพียงพอ เนื่องจากความสับสนระหว่างระบบคุณค่าเก่า
และใหม่ที่ผสมปนเปกันอยู่ในความรู้สึกนึกคิด ทำให้ไม่มีจุดยืนที่มั่นคงสำหรับ
การประเมินเรื่องต่างๆ อย่างรอบคอบจนกระทั่งมีคำตอบที่ชัดเจนให้แก่ตัวเอง
บ่อยครั้งที่ตกอยู่ใน “กระแสสังคม” ที่สื่อในยุคดิจิตอลปลุกเร้าให้เกิดขึ้น นำไปสู่
การ “เลือกข้าง” อย่างปราศจากวิจารณญาณและใช้อารมณ์ในการแสดงความ
คิดเห็นทางการเมือง นับเป็นปัญหาประการหนึ่งที่ทำให้วัฒนธรรมทางการเมือง
แบบประชาธิปไตยของไทยยังไม่เข้มแข็งเท่าที่ควร และทำให้พลังของการยึดถือ
หลักนิติธรรมขาดความเข้มแข็งตามไปด้วย
เป็นที่น่าสังเกตด้วยว่า ในท่ามกลางระบบคุณค่าและอุดมการณ์ที่มีความ
แตกต่างหลากหลาย ได้เกิดการเคลื่อนไหวทางการเมืองด้วยแรงผลักดันของระบบ
คุณค่าและอุดมการณ์ที่แต่ละฝ่ายยึดถือ เพราะระบบคุณค่าและอุดมการณ์ที่มี
อิทธิพลต่อมวลชนแต่ละฝ่ายนี้ได้นำไปสู่การตัดสินว่าการกระทำทางการเมืองของ
ฝ่ายหนึ่งมีความชอบธรรมและอีกฝ่ายหนึ่งขาดความชอบธรรม โดยมีการใช้ความ
รุนแรงต่อฝ่ายตรงกันข้ามทั้งด้วยอาวุธและวาจาหรือข้อเขียน ดังที่นิธิ เอียวศรีวงศ์
วิเคราะห์ “ประเด็นแห่งความขัดแย้งในสังคมไทย” ที่เกิดจากการมีทัศนะ
ไม่ตรงกันเหล่านี้ไว้ในหลายกรณี ดังตัวอย่างต่อไปนี้
37 เรื่องเดียวกัน.
การประชุมกลุมยอยที่ 2