Page 256 - kpi17968
P. 256
245
ชนบทมีโลกทัศน์ใหม่รวมทั้ง “นิติสำนึก” (Legal consciousness) ใหม่
ทำให้เกิดความตึงเครียด (tension) มากขึ้นในความสัมพันธ์กับชนชั้นสูงและ
ชนชั้นกลาง ตลอดจนในความสัมพันธ์กับรัฐ ความตึงเครียดในความสัมพันธ์
ระหว่างชนชั้นกลางระดับล่างกับชนชั้นสูงและชนชั้นกลางเดิมที่เกี่ยวข้องกับ
วัฒนธรรมทางกฎหมายนั้นเห็นได้จากการเคลื่อนไหวของ “คนเสื้อแดง” ที่วิพากษ์
วิจารณ์ “คนเสื้อเหลือง” ว่าไม่ยอมรับหลักการเสียงข้างมากและปฏิเสธรัฐบาล
ที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งขัดกับหลักการของรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุด
ส่วนความตึงเครียดในความสัมพันธ์กับรัฐ เห็นได้ชัดจากผลการวิจัยที่ศึกษากรณี
ชาวบ้านจำนวนหนึ่งในภาคเหนือตอนบนที่ “ทำผิดกฎหมาย” เกี่ยวกับ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งปรากฏว่าเมื่อพวกเขาถูกศาลตัดสินลงโทษ
จำคุก ชาวบ้านเหล่านี้กลับมีท่าที “ยอมรับโทษแต่ไม่ยอมรับผิด” โดยที่ความ
เปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างการเมืองระดับชาติและระดับท้องถิ่น ตลอดจนความ
เปลี่ยนแปลงในด้านสาธารณูปโภคและการสื่อสาร ได้ส่งผลให้ชาวบ้านมีสำนึกของ
“พลเมือง” ที่ทำให้พวกเขาไม่ยอมรับคำพิพากษาของศาลว่าตนทำความผิด แต่
กลับมีสำนึกแห่งการต่อสู้โต้แย้งและวิพากษ์วิจารณ์คำพิพากษา และท้าทายต่อ
โทษจำคุกที่ตนได้รับจากการตัดสินของศาล นับเป็น “นิติสำนึก” ใหม่ที่ทำให้
ชาวบ้านพร้อมที่จะท้าทายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่พวกเขาเห็นว่า
30
ขาดความเป็นธรรม
การที่ชาวบ้านไม่ยอมรับว่าตนทำผิดกฎหมาย เพราะได้ทำกินในที่ดินนั้น
มาก่อนที่จะมีกฎหมายเกี่ยวกับป่าสงวนหรืออุทยานแห่งชาติ สะท้อนให้เห็นว่าถ้า
หากการตรากฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายขาดความชอบธรรมในระบอบ
ประชาธิปไตย และขาดความเป็นธรรมในทัศนะของประชาชน ย่อมทำให้เกิด
ความตึงเครียดและความขัดแย้งในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนได้มาก
อาจกล่าวได้ว่าในทัศนะของชาวบ้านรัฐเป็นฝ่ายละเมิดสิทธิของประชาชนซึ่งขัดกับ
หลักนิติธรรมอย่างยิ่ง
30 กฤษณ์พชร โสมณวัตร, “นิติสำนึกต่อ ‘โทษจำคุก’ ของพลเมืองผู้ดื้อแพ่งต่อกฎหมาย
ประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม”, วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2555.
การประชุมกลุมยอยที่ 2