Page 259 - kpi17968
P. 259
248
ตัวอย่างรูปธรรมของปัญหา “ความก้ำกึ่งกำกวมอิหลักอิเหลื่อ” ของ
วัฒนธรรมการเมืองในสังคมไทยที่ปรากฏในบทความของนิธิ เอียวศรีวงศ์ ซึ่ง
เกษียร เตชะพีระ นำมากล่าวถึงมีหลายประการ เช่น
“ระบบอุปถัมภ์ที่สูญสิ้นสำนึกบุญคุณผูกพันยั่งยืนอันเป็นพลังทาง
อุดมการณ์ของมันไปแล้ว เพราะซื้อขายกันได้เหมือนสินค้าในตลาด แต่
กระนั่นก็กลับเป็นช่องทางให้ความชอบธรรมแก่การซื้อขายสินค้าบริการ
เถื่อนต่างๆ ที่ละเมิดหลักเกณฑ์ของตลาดเสรีและหลักความเสมอภาค
ของคู่สัญญา” 33
“ทุนนิยมที่ปลดเปลื้องบุคคลและทรัพยากรสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
จากการกำกับควบคุมและอนุรักษ์คุ้มครองตามขนบประเพณีของชุมชน
แต่กลับปล่อยแรงงานของพวกเขาและสินค้าเหล่านั้นเข้าสู่ตลาดที่ไม่ได้
เปิดให้แข่งขันเสรีจริง หากถูกผูกขาดเอาเปรียบโดยนายทุนที่อิงเส้นสาย
อำนาจรัฐและอิทธิพลอุปถัมภ์จนส่วนใหญ่เสียเปรียบพ่ายแพ้ล้มเหลวครั้ง
แล้วครั้งเล่า”
34
“สมาชิกรัฐสภาจากการเลือกตั้งที่คิดและพูดเหมือนขุนนาง
หรือทรราช, นายกรัฐมนตรีในระบอบประชาธิปไตยที่ใช้อำนาจเหมือน
จอมเผด็จการทหาร...ฯลฯ” 35
นอกจากกรณีที่กล่าวข้างต้นแล้ว วัฒนธรรมทางการเมืองไทยที่มีลักษณะ
กำกวมยังเห็นได้ชัดจากการที่วัฒนธรรมเสรีประชาธิปไตยมีอิทธิพลสูงขึ้น
ในขณะที่ลักษณะอำนาจนิยมก็ยังคงมีอิทธิพลอยู่มาก กล่าวคือ คนไทยทั่วไปยัง
คงเชื่อในการจัดการเรื่องต่างๆ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาสำคัญๆ ด้วยการใช้อำนาจ
รัฐอย่างเฉียบขาดและรวดเร็ว โดยให้ความสำคัญอย่างมากแก่ผู้นำรัฐในการใช้
อำนาจดังกล่าว และมองว่าประชาชนจะต้องพึ่งพาความเมตตาของรัฐและผู้นำรัฐ
33 เรื่องเดียวกัน, หน้า 12.
34 เรื่องเดียวกัน, หน้า 13.
35 เรื่องเดียวกัน, หน้า 13.
การประชุมกลุมยอยที่ 2