Page 260 - kpi17968
P. 260

249




                   จึงจะอยู่รอดปลอดภัยหรือมีชีวิตที่ดีขึ้นได้ ในขณะที่มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของ

                   ปัจเจกบุคคลและพลังของสังคมค่อนข้างน้อย

                         ทัศนะที่มีรากฐานอยู่บนวัฒนธรรมการเมืองแบบอำนาจนิยมนี้เห็นได้ชัด

                   ว่าขัดแย้งกับหลักนิติธรรม เพราะการใช้หลักนิติธรรมจะเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง
                   ก็ต่อเมื่อให้ความสำคัญแก่ประชาชนและประชาสังคมในฐานะที่มีศักยภาพ (หรือ
                   สามารถจะพัฒนาศักยภาพ) ที่จะจัดการเรื่องต่างๆ ได้ด้วยตนเอง รวมทั้งเชื่อมั่น

                   ในศักยภาพของประชาชนที่จะเลือกฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ และ
                   กำกับตรวจสอบการใช้อำนาจของทุกฝ่ายอย่างมีประสิทธิภาพด้วย


                     3.  ปัญหาความแตกต่างของวัฒนธรรมทางความคิด


                         คนกลุ่มต่างๆ ในสังคมไทยมีวัฒนธรรมทางความคิดที่เกี่ยวข้องกับการ

                   จัดสรรอำนาจที่แตกต่างกัน โดยมีระบบคุณค่าและทัศนะไม่ตรงกันในหลายเรื่อง
                   รวมทั้งการรับรู้ความหมายของสถาบันการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งทัศนะ
                   ของแต่ละฝ่ายสะท้อนให้เห็นว่ามีวัฒนธรรมทางการเมืองที่ไม่ลงรอยกันอันเป็น

                   รากฐานของความขัดแย้งทางการเมือง

                         ในระยะหลายปีที่ผ่านมา กลุ่มการเมืองต่างๆ ในสังคมการเมืองไทย

                   รวมทั้งกลุ่ม “คนเสื้อแดง” และกลุ่ม “คนเสื้อเหลือง” มีทัศนะที่แตกต่างกันว่า
                   อะไรคือ “ความดี” หรือ “ความถูกต้อง” อันเป็นผลมาจากการให้ความหมายของ
                   สถาบันการเมืองต่างๆ ไม่เหมือนกัน แม้แต่คำว่า “ชาติไทย” ก็นิยามแตกต่างกัน

                   เช่น บางคนจินตนาการถึง “ชาติ” ที่ประกอบด้วยคนหลายชนชั้นที่มีสติปัญญา
                   และคุณธรรมแตกต่างกัน และมีระบบอุปถัมภ์และ “ศูนย์รวมจิตใจของคนในชาติ”
                   ที่ยึดโยงคนทั้งหลายในชาติไว้ด้วยกัน แต่บางคนจินตนาการถึง “ชาติ” ที่ทุกคน

                   เสมอภาคกัน  หรือการที่กลุ่ม “คนเสื้อแดง” และ “คนเสื้อเหลือง” ให้ความหมาย
                              36
                   แก่ “ประชาธิปไตย” แตกต่างกัน ซึ่งการที่คนกลุ่มต่างๆ ในสังคมไทยมีวัฒนธรรม
                   ทางความคิดที่แตกต่างกันในเรื่องสำคัญเช่นนี้เป็นเพราะระบบคุณค่าเดิมบางอย่าง



                      36   โปรดดูรายละเอียดใน สายชล สัตยานุรักษ์, 10 ปัญญาชนสยาม เล่ม 2 ปัญญาชนหลัง
                   การปฏิวัติ 2475, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเพ่นบุคส์, 2557.





                                                                     การประชุมกลุมยอยที่ 2
   255   256   257   258   259   260   261   262   263   264   265