Page 264 - kpi17968
P. 264

253




                   เป็นการตอบแทน ทัศนะเช่นนี้นับเป็นอุปสรรคสำคัญประการหนึ่งของการใช้

                   หลักนิติธรรมในสังคมไทย เพราะความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์เป็นความสัมพันธ์
                   ที่ไม่เสมอภาคและขาดเสรีภาพในการแลกเปลี่ยน อีกทั้งการใช้เส้นสายยังนำไปสู่
                   การละเมิดกฎหมายหรือกฎระเบียบต่างๆ อีกด้วย นอกจากนี้ความหมายของ

                   “ความเป็นไทย” กระแสหลักที่ถือว่าพุทธศาสนาเป็นหัวใจของ “ความเป็นไทย”
                   ยังทำให้ชนชั้นสูงและชนชั้นกลางให้ความสำคัญแก่การปกครองโดย “คนดี” ที่ให้
                   ความช่วยเหลือแก่ประชาชนด้วยความเมตตาเอื้ออาทร ทำให้ไม่ตระหนักว่าสิทธิ

                   และอำนาจของประชาชนมีความสำคัญอย่างสูงต่อการเข้าถึงทรัพยากรและการ
                   พัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคทุนนิยม-โลกาภิวัตน์ที่มีการแย่งชิง
                   ทรัพยากรสูงขึ้นมาก 40


                         มรดกสำคัญประการหนึ่งที่เป็นผลมาจากความหมายของ “ความเป็นไทย”
                   คือการให้ความสำคัญแก่ระเบียบ ความสงบสุข ความมั่นคง และความเจริญ

                   ก้าวหน้าของชาติ ที่จะเกิดขึ้นได้เมื่อชาวบ้านหรือประชาชนส่วนใหญ่ยอมรับ
                   สถานภาพเดิม และทำหน้าที่ต่างๆ ของตนโดยไม่เรียกร้องสิทธิและ “ไม่เอิบเอื้อม
                   ก้าวก่ายหน้าที่ของคนอื่น” และยังเห็นว่าถ้าหากปล่อยให้ชาวบ้านที่ยังด้อยใน

                   อารยธรรมได้รับสิทธิและเสรีภาพมากเกินไปก็จะนำไปสู่ความปั่นป่วนวุ่นวาย
                   ต่างจากชนชั้นสูงและชนชั้นกลางที่สามารถใช้สิทธิและเสรีภาพอย่างเหมาะสม
                   เพราะมีความรู้และปัญญา มีความเข้าใจว่าอะไรถูก อะไรผิด อะไรดี อะไรชั่ว

                           41
                   มากกว่า  เมื่อประกอบกับการใช้สิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมของชาวบ้าน
                   ในระยะหลายทศวรรษที่ผ่านมามักใช้วิธีปิดถนนหรือเข้ามาชุมนุมในกรุงเทพฯ
                   เป็นเวลานานๆ เนื่องจากขาดกลไกเชิงสถาบันในการต่อสู้หรือต่อรองกับรัฐและ

                   กลุ่มทุน ซึ่ง “การเมืองภาคประชาชน” ในลักษณะดังกล่าวนี้กระทบกระเทือนต่อ
                   ความปรกติสุขในชีวิตและความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งชนชั้นกลางให้ความ
                   สำคัญอย่างมาก ทำให้เกิดความรู้สึกไม่พอใจและต่อต้านการเคลื่อนไหวของ

                   ชาวชนบทมากขึ้น

                      40   โปรดดู สายชล สัตยานุรักษ์, คึกฤทธิ์กับประดิษฐกรรม “ความเป็นไทย” เล่ม 2,
                   กรุงเทพฯ: มติชน, 2550. และ สายชล สัตยานุรักษ์, 10 ปัญญาชนสยาม เล่ม 2 ปัญญาชน
                   หลังการปฏิวัติ 2475 (อ้างแล้ว).
                      41   เรื่องเดียวกัน.





                                                                     การประชุมกลุมยอยที่ 2
   259   260   261   262   263   264   265   266   267   268   269