Page 266 - kpi17968
P. 266

255




                         ในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าคนแต่ละฝ่ายในสังคมจะให้ความหมาย “ประชาธิปไตย”

                   แตกต่างกัน และถึงแม้ว่าจะมีความสืบเนื่องของวัฒนธรรมการเมืองจากสมัย
                   สมบูรณาญาสิทธิราชย์ในบางมิติ แต่ในอีกหลายมิติก็เกิดความเปลี่ยนแปลง
                   อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา เพราะมีความ

                   เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างลึกซึ้งกว้างขวางอันทำให้เกิดกลุ่ม
                   คนใหม่ๆ ขึ้นมาในสังคมการเมืองไทย  รวมทั้งองค์ประกอบของชนชั้นนำ
                                             43
                   ก็เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมาก  ทำให้เกิดความสัมพันธ์เชิงอำนาจในลักษณะใหม่
                   และการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจมีลักษณะที่แตกต่างจากเดิม โดยที่การต่อสู้หรือต่อรอง
                   ของฝ่ายต่างๆ ล้วนแต่อาศัยการสร้างความชอบธรรมภายใต้อุดมการณ์
                   ประชาธิปไตยและมีลักษณะเสมอภาคมากขึ้น เช่น ทุกฝ่ายให้ความสำคัญแก่

                   การเมืองมวลชนและประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (แม้ว่าจะมีการให้ความหมาย
                   หรือมีจุดเน้นที่แตกต่างกัน) แม้แต่คณะรัฐประหารก็จำเป็นต้องแสดงเจตจำนงให้
                   ปรากฏ ว่าจะนำประเทศกลับเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยโดยเร็ว


                         ท่ามกลางโครงสร้างการเมืองที่เปลี่ยนแปลง และการแย่งชิงทรัพยากรสูง
                   ขึ้น ประชาชนทุกชั้นได้หาทางเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรและการต่อ

                   รองทางการเมือง จึงเห็นได้ว่าเกิดการขยายตัวของการเมืองภาคประชาชนและ
                   การเมืองภาคพลเมือง เกิด “ประชาสังคม” ในรูปแบบและวัตถุประสงค์ที่
                   หลากหลาย และมีการเคลื่อนไหวทางสังคมแนวใหม่ (new social movements)

                   ทั้งของคนชนบทและคนในเขตเมืองกว้างขวางขึ้น นำไปสู่วัฒนธรรมทางการเมือง
                   แบบใหม่ของภาคประชาชน เป็นวัฒนธรรมทางการเมืองที่ให้ความสำคัญแก่
                   ประชาชนในการจัดการชีวิตและปัญหาต่างๆ ร่วมกัน แทนการพึ่งพารัฐและฝาก

                   ความหวังไว้กับระบอบรัฐสภาเพียงอย่างเดียว การเคลื่อนไหวของภาคประชาชน
                   ดังกล่าวนี้ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ความสำนึก
                   ในสิทธิความเป็นพลเมือง สิทธิชุมชน การมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ

                   ทางการเมือง และบางประเด็นที่ “ประชาสังคม” บางกลุ่มเคลื่อนไหวเรียกร้อง



                      43   เช่น การที่กลุ่มทุนในส่วนภูมิภาคได้ส่วนแบ่งของอำนาจในทศวรรษ 2520 เป็นต้นมา
                   และการที่กลุ่มทุนใหญ่มีอำนาจและอิทธิพลทางการเมืองเหนือข้าราชการและเทคโนแครตใน
                   ครึ่งหลังของทศวรรษ 2540-2550.





                                                                     การประชุมกลุมยอยที่ 2
   261   262   263   264   265   266   267   268   269   270   271