Page 270 - kpi17968
P. 270
259
โดยทั่วไปแล้ว “คนเสื้อเหลือง” ให้ความสำคัญแก่ความเสมอภาคน้อยกว่า
“คนเสื้อแดง” เพราะมีสถานภาพทางอำนาจและทางสังคมสูงกว่าและอยู่ในฐานะ
ได้เปรียบจากสถานภาพที่เป็นอยู่ ส่วน “คนเสื้อแดง” ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญแก่
การตรวจสอบรัฐบาลค่อนข้างน้อยตราบเท่าที่รัฐบาลดำเนินนโยบายที่ตนได้
ประโยชน์โดยตรง อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวทางการเมืองของทั้งสองฝ่าย
ล้วนแต่ส่งผลให้ความคิดเสรีนิยมทางการเมืองมีพลังสูงขึ้น แม้ว่าการต่อต้าน
“ระบอบทักษิณ” ของชนชั้นกลางหรือ “คนเสื้อเหลือง” จะทำให้เกิดการเรียกร้อง
“นายกฯ พระราชทาน” และถึงกับสนับสนุนการรัฐประหาร แต่ชนชั้นกลางหรือ
“คนเสื้อเหลือง” ส่วนใหญ่ก็ต้องการให้เกิดการปฏิรูปประเทศเพื่อให้เกิดระบอบ
52
ประชาธิปไตยอย่างแท้จริงในอนาคตอันใกล้ ส่วน “คนเสื้อแดง” ต้องการให้
คนในสังคมไทยมีความสัมพันธ์กันอย่างเสมอภาคมากขึ้น มีสิทธิและโอกาสที่
เท่าเทียมกันมากขึ้น และลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมลงให้มาก
ในแง่ของการแก้ปัญหาทางการเมือง ก็เห็นได้ว่ามีการให้ความสำคัญแก่
คุณค่าของ “สันติวิธี” เพิ่มขึ้น แต่เดิมนั้นรัฐไทยมีความชอบธรรมที่จะใช้ความ
รุนแรงในเรื่องที่เชื่อว่ากระทบต่อความมั่นคงของ “ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์”
เช่น ในเหตุการณ์ “6 ตุลาคม พ.ศ.2519” “การถีบลงเขาเผาถังแดง” ตลอดจน
การอุ้มฆ่าและการคุมขังด้วยข้อหาคอมมิวนิสต์ ฯลฯ แต่ในปัจจุบันการใช้ความ
รุนแรงได้รับการปฏิเสธมากขึ้น หากรัฐบาลใช้ความรุนแรงในการปราบปรามการ
ชุมนุมโดยสงบ ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมของฝ่ายใด รัฐบาลก็จะสูญเสียความชอบ
ธรรมไปมาก หรือในกรณีที่ฝ่ายผู้ชุมนุมมิได้ชุมนุมอย่างสงบแต่มีการครอบครอง
อาวุธและการใช้ความรุนแรง ก็จะสูญเสียความชอบธรรมในสายตาของคนส่วนใหญ่
เช่นกัน กรณีที่เกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2535 และในระหว่าง พ.ศ.2552-
2553 เป็นต้น ดังปรากฏผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนโดยมูลนิธิ
เอเชีย ระหว่างวันที่ 17 กันยายน ถึงวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2553 เกี่ยวกับ
การใช้กำลังสลายการชุมนุมของกลุ่ม “คนเสื้อแดง” เมื่อเดือนพฤษภาคม 2553
52 สายชล สัตยานุรักษ์, “อุดมการณ์ชาตินิยมกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองของ
ชนชั้นกลางไทย” ใน ประวัติศาสตร์รัฐไทยและสังคมไทย: ครอบครัว ชุมชน ชีวิตสามัญชน
ความทรงจำ และอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์, เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2558,
หน้า 255-284.
การประชุมกลุมยอยที่ 2