Page 272 - kpi17968
P. 272
261
มีรากฐานอยู่บนการยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางชาติพันธุ์มากขึ้น และ
การยอมรับใน “หลักการนิติธรรม” หรือหลักการเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพที่คน
ทุกชาติพันธุ์และทุกสถานภาพมีความเสมอภาคกันภายใต้กฎหมาย ก็เห็นได้ชัดว่า
ขยายตัวกว้างขวางขึ้นกว่าในยุคสงครามเย็นเป็นอันมาก
เท่าที่กล่าวมานี้จะเห็นได้ว่ามีความเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมทางการเมือง
ในทิศทางที่เกื้อหนุนต่อการใช้หลักนิติธรรมในหลายมิติ และยังมีความจำเป็นอีก
หลายประการที่บีบบังคับให้สังคมการเมืองไทยจำเป็นต้องก้าวไปสู่การยึดหลัก
นิติธรรมอย่างแท้จริงในอนาคตอันใกล้ ดังจะได้วิเคราะห์ในหัวข้อต่อไป
การก า หลักนิติธรรม น นา ต การ ร า ั นธรรมการ ม
นระบ บประชาธิปไตย
ในอนาคตอันใกล้สังคมการเมืองไทยจำเป็นที่จะต้องก้าวไปสู่ “หลัก
นิติธรรม” ซึ่งเป็นรากฐานของระบอบประชาธิปไตย โดยให้ความสำคัญแก่ความ
เสมอภาคในแง่ของสิทธิและเสรีภาพภายใต้ “กฎหมาย” ที่มี “ความชอบธรรม”
และมี “ความศักดิ์สิทธิ์” ที่คนทุกกลุ่มในสังคมไทยยอมรับร่วมกัน นอกจากนี้
หลักนิติธรรมยังเป็นปัจจัยสำคัญของความยุติธรรมทางสังคมและก่อให้เกิดภราดรภาพ
ที่จะนำไปสู่ความร่วมมือกันและการช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างเต็มใจ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งในการสร้างสังคมที่มีความเป็นธรรมมากขึ้น
ในยุคโลกาภิวัตน์ การยึดหลักนิติธรรมจะทำให้ประเทศไทยดำรงอยู่ใน
สังคมโลกได้อย่างราบรื่น เพราะรัฐไทยและสังคมไทยไม่อาจแยกตัวออกจากระบบ
โลกได้ การยอมรับของคนในรัฐหรือในสังคมอื่นๆ มีความสำคัญอย่างยิ่งทั้งในแง่
ของการซื้อขายสินค้า การหารายได้จากการท่องเที่ยว การดำรงอยู่ในสังคมโลก
อย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี และสามารถร่วมมือหรือต่อรองกับนานาชาติได้ดีขึ้น
การก้าวไปสู่หลักนิติธรรมยังเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะช่วยลดความตึงเครียด
และความขัดแย้งภายในสังคมการเมืองไทย เพราะจะทำให้เกิดกฎหมายที่มีความ
เป็นธรรมมากขึ้น และทำให้ผู้ใช้อำนาจรัฐและคนไทยทุกกลุ่มเคารพกฎหมายที่มี
ความเป็นธรรมนี้ โดยหลักนิติธรรมควรกลายเป็นบรรทัดฐานสำคัญในวัฒนธรรม
การประชุมกลุมยอยที่ 2