Page 275 - kpi17968
P. 275
264
สำหรับ อุดมการณ์ “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
ประมุข” นั้น ควรทำให้เป็นอุดมการณ์ของคนทุกกลุ่มในสังคมไทย แต่ควรได้รับ
การปรับเปลี่ยนความหมายเพื่อให้เกิดระบอบการปกครองที่รัฐค้ำประกันสิทธิและ
เสรีภาพตลอดจนความเสมอภาคภายใต้กฎหมาย เช่น เกษียร เตชะพีระ เสนอว่า
สังคมไทยควรอาศัยสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งมีทุนทางวัฒนธรรมสูงมาเป็นพลัง
ทางยุทธศาสตร์ในทางที่เกื้อกูลปรับเปลี่ยนเงื่อนไขสภาวะของระบบเศรษฐกิจ
การเมืองที่ไม่เสมอภาคและไม่เป็นธรรม และพระองค์ “ทรงเป็นหลักประกัน
พื้นฐานให้สิ่งที่เราอาจจะเรียกว่า “สมบัติร่วมทางการเมืองของชาติ...เช่น
สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคของพลเมือง, one man one vote, อำนาจ
55
อธิปไตยเป็นของประชาชน...”
นอกจากนี้ควรหาทางทำให้ประชาธิปไตยกลายเป็นวิถีชีวิตที่คนสำนึก
ในสิทธิและเสรีภาพที่จะเลือก “ความจริง ความดี ความงาม” ตามทัศนะของตน
โดยมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงอย่างสมดุลกันกับวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งเป็น
วัฒนธรรมไทยของคนไทยโดยส่วนรวม หรืออาจกล่าวได้ว่าควรหาทางทำให้
วัฒนธรรมประชาธิปไตยเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมแห่งชาติ รวมทั้งให้ความ
สำคัญแก่สิทธิและหน้าที่พลเมืองไทยในความหมายใหม่ คือสิทธิและหน้าที่ในการ
มีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างฉลาดและสร้างสรรค์ เพื่อให้พลเมืองทุกกลุ่มสามารถ
ใช้สิทธิในการเลือกตั้งและการกำกับตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ โดยตระหนักว่าผลประโยชน์ส่วนบุคคลกับผลประโยชน์ของ
56
ส่วนรวมมีความเกี่ยวโยงกันอย่างลึกซึ้ง และถ้าหากคนใดคนหนึ่งถูกละเมิดสิทธิ
และเสรีภาพหรือได้รับความไม่เป็นธรรมใดๆ ก็เท่ากับว่าสิทธิ เสรีภาพ และความ
เป็นธรรมในสังคมไทยโดยรวมได้ถูกละเมิดตามไปด้วย
55 เกษียร เตชะพีระ, สัมภาษณ์ เกษียร เตชะพีระ-เหลียวหลังแลหน้าประชาธิปไตยไทย
80 ปี, (13 กรกฎาคม 2555) นิตยสารสารคดี ฉบับที่ 328 (สัมภาษณ์โดย วิรพา อังกูรทัศ-
นียรัตน์), จาก http://www.sarakadee.com/2012/07/13/kasien-80th-democracy/
56 สายชล สัตยานุรักษ์, “วิถีไทยกับการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองไทย” ใน
ประวัติศาสตร์รัฐไทยและสังคมไทย: ครอบครัว ชุมชน ชีวิตสามัญชน ความทรงจำ และ
อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์, เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2558, หน้า 285-315.
การประชุมกลุมยอยที่ 2