Page 278 - kpi17968
P. 278

267




                   หลักการว่ารัฐไม่ควรจะสอดส่องบุคคลและสังคมในระดับที่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

                   และไม่ควรขัดขวางการจัดตั้งทางการเมืองของประชาชนเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรอง
                                              57
                   หรือเพื่อมีส่วนร่วมทางการเมือง

                         กฎหมายปฏิรูปที่ดิน คือ “พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
                   พ.ศ.2518” เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงว่ากฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้องต่างๆ
                   ไม่ได้รับการปรับเปลี่ยนอย่างสอดคล้องกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคม เพราะ

                   กฎหมายในเรื่องนี้ได้รับการตราขึ้นโดยขาดความเข้าใจในวิถีชีวิตของประชาชน
                   ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากแล้ว กล่าวคือในหลายทศวรรษที่ผ่านมา เกษตรกร

                   ต้องพึ่งพิงต่อกลไกการตลาดมากขึ้น ในขณะที่ครอบครัวชาวบ้านเกิดความจำเป็น
                   ในการใช้เงินเพื่อการต่างๆ มากขึ้นหลายเท่าตัว เช่น การลงทุนในการผลิตเชิง
                   พาณิชย์และการศึกษาของบุตรหลาน จึงทำให้ เกิดการละเมิดกฎหมายที่ห้าม
                   เกษตรกรขายที่ดินให้กับเอกชนรายอื่น ทำให้เกษตรกรที่ได้รับการจัดสรรที่ดิน

                   ตาม “พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518” มักสูญเสีย
                   ที่ดินไปในที่สุด จุดมุ่งหมายของรัฐในการปฏิรูปที่ดินที่ต้องการให้เกษตรกรที่
                   ยากจนมีที่ดินทำกินและสร้างความเป็นธรรมในการถือครองที่ดินจึงประสบกับ

                   ความล้มเหลว 58


                         กฎหมายเกี่ยวกับ “สิทธิชุมชน” ก็มีปัญหาอย่างเด่นชัด กล่าวคือ ทั้ง
                   รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 และรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ต่างก็ได้รับรอง “สิทธิ
                   ชุมชน” แต่ความคิดเรื่อง “สิทธิชุมชน” ในทางกฎหมายและในคำพิพากษามี
                   ความเปลี่ยนแปลงน้อยมาก คือยอมรับ “สิทธิชุมชน” เฉพาะในเรื่องสิ่งแวดล้อม

                                                                                 59
                   แต่ไม่ยอมรับในเรื่องของอำนาจของชุมชนในการจัดการทรัพยากร  โดยที่
                   คำพิพากษาของศาลก็ยึดถือหลักกฎหมายมากกว่าหลักความยุติธรรม ทั้งๆ ที่


                      57   ทศพล ทรรศนกุลพันธ์, “ผลสะเทือนของอินเทอร์เน็ตต่อปริมณฑลทางกฎหมาย”,
                   วารสารนิติสังคมศาสตร์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 1/2558 (มกราคม-มิถุนายน), หน้า 168-197.

                      58   ดามร คำไตรย์, “กฎหมายปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกับข้อท้าทายที่เปลี่ยนไป”,
                   วารสารนิติสังคมศาสตร์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 1/2558 (มกราคม-มิถุนายน), หน้า 42-79.
                      59   บุญชู ณ ป้อมเพชร, “ความเข้าใจว่าด้วย ‘สิทธิชุมชน’ ของนักกฎหมายไทย”, วารสาร
                   นิติสังคมศาสตร์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 1/2558 (มกราคม-มิถุนายน), หน้า 122-147.





                                                                     การประชุมกลุมยอยที่ 2
   273   274   275   276   277   278   279   280   281   282   283