Page 273 - kpi17968
P. 273

262




               ทางการเมืองไทย ที่จะทำให้รัฐเคารพสิทธิเสรีภาพของประชาชน และคนไทยทุก

               สถานภาพ ทุกชาติพันธุ์ ทุกเพศ ทุกท้องถิ่น มีความเคารพในสิทธิและเสรีภาพ
               ของซึ่งกันและกัน และยอมรับความเสมอภาคภายใต้กฎหมาย ซึ่งจะทำให้คนไทย
               อยู่ร่วมกันและร่วมมือกันได้อย่างราบรื่น และประสบความสำเร็จมากขึ้นในการ

               แก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมตลอดจนความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับรัฐ
               อีกทั้งช่วยป้องกันมิให้ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายต่างๆ ขยายตัวมากขึ้นจนอาจนำไป
               สู่สภาวะรัฐล้มเหลวหรือสังคมล้มเหลวซึ่งจะส่งผลร้ายแก่คนทุกกลุ่ม


                     อาจกล่าวได้ว่าในความเป็นจริงนั้นสังคมไทยในปัจจุบันให้คุณค่าหรือ

               ความสำคัญแก่ความเสมอภาคมากขึ้น แม้แต่ระบบอุปถัมภ์ในหลายกรณีก็กำลัง
               เปลี่ยนไปสู่ความสัมพันธ์เชิงพาณิชย์ที่มีลักษณะเสมอภาคมากขึ้น นอกจากนี้ยังมี
               การสร้างเครือข่ายต่างๆ เพื่อเป็นทุนทางสังคมที่คนในเครือข่ายมีลักษณะเสมอ
               ภาคมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มชนชั้นกลางระดับล่างทั้งในเขตเมืองและ

               ชนบทซึ่งมีทุนในรูปแบบอื่นค่อนข้างน้อย ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องสร้าง
               เครือข่ายหรือ “ทุนทางสังคม” เพื่อการปรับตัว เมื่อสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป
               แล้วเช่นนี้ วัฒนธรรมการเมืองที่เอื้อต่ออำนาจและสิทธิที่เท่าเทียมกันย่อมพัฒนา

               ขึ้นได้ง่าย ความพยายามของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่จะรักษาระบบความสัมพันธ์ที่ไม่
               เท่าเทียมกันเอาไว้มีแต่จะนำไปสู่ความตึงเครียดและความขัดแย้งที่สูงขึ้น


                     ควรเน้นไว้ในที่นี้ด้วยว่า คนไทยในปัจจุบันอยู่ในสังคมที่ลัทธิเสรีนิยมใหม่มี
               อิทธิพลสูงขึ้นมาก และคนส่วนใหญ่มีชีวิตในสังคมสมัยใหม่ที่มีความสัมพันธ์กับ
               เครือญาติและชุมชนในลักษณะต่างๆ น้อยลง โดยที่คนในสังคมต่างก็มีสำนึก

               ปัจเจกชนนิยมสูงขึ้น ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องสร้างความมั่นคงแก่ตนเอง
               ด้วยการพึ่งพารัฐมากขึ้น แม้ว่าจะเกิด “ประชาสังคม” ในหลายรูปแบบดังกล่าวมา
               แล้ว แต่ส่วนใหญ่ก็ยังเป็นการร่วมมือกันเฉพาะกิจมากกว่าจะพัฒนาไปสู่ความเป็น

               สถาบันหรือการสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนถาวร ในบริบทเช่นนี้ถ้าหากการเข้าถึง
               ทรัพยากรของรัฐยังเป็นไปโดยขาดความเสมอภาคและความเป็นธรรม ก็จะสร้าง
               ความเดือดร้อนให้แก่ชีวิตผู้คนยิ่งกว่าในอดีตที่ผ่านมา เพราะในอดีตนั้นผู้คนมี

               ความสัมพันธ์กับรัฐและพึ่งพารัฐไม่มากนัก ความไม่เป็นธรรมหรือการละเมิดสิทธิ
               และเสรีภาพโดยรัฐในยุคก่อนสมัยใหม่จึงส่งผลกระทบต่อประชาชนอย่างจำกัด






                   การประชุมกลุมยอยที่ 2
   268   269   270   271   272   273   274   275   276   277   278